ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ตาบอดคลำช้าง หรือมาถูกทางแล้ว


ข่าวการศึกษา 9 พ.ย. 2558 เวลา 10:10 น. เปิดอ่าน : 15,264 ครั้ง
"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ตาบอดคลำช้าง หรือมาถูกทางแล้ว

Advertisement

ต้องยอมรับความจริงว่าเด็กนักเรียนของไทยใช้เวลาเรียนมากติดอันดับต้นๆ ของโลก และใช้งบประมาณเพื่อการศึกษาปีละกว่าสี่ห้าแสนล้านบาทมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่คุณภาพการศึกษากลับตกต่ำลง เรื่อยๆ

บนเส้นทางความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษาที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2542 ถึงบัดนี้จะร่วมยี่สิบปีแล้วนโยบาย "ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้" ของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะช่วยให้เด็กไทยฉลาดขึ้นไหม จะช่วยลดความเครียดให้ลูกหลานมีความสุขกับ การศึกษาหรือไม่?

ก่อนอื่น ดูข้อมูลของยูเนสโก เมื่อปี 2555 แสดงจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีของนักเรียนในระดับอายุ 9 - 13 ปีทั่วโลกกันก่อน ยูเนสโก พบว่า เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 2 ในระดับอายุ 9 ปี 1,080 ชั่วโมงต่อปี, เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ของโลกในระดับอายุ 10 ปี และ 11 ปี 1,200 ชั่วโมงต่อปี, เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 5 ในระดับอายุ 12 ปี 1,167 ชั่วโมงต่อปี เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 8 ในระดับอายุ 13 ปี 1,167 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่เด็กชาติอื่นๆ หากเทียบเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้วหรือโออีซีดี จะมีเวลาอยู่ในห้องเรียนน้อยกว่าประเทศไทย คือไม่ถึง 800 ชั่วโมงต่อปี ดูๆ แล้วเด็กไทยและครูไทยขยันมากมีชั่วโมงเรียนสูงถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี สูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้ว และสูงกว่าฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


ดังนั้น จึงต้องกล่าวว่ามาถูกทางแล้วที่จะลดชั่วโมงเรียนลงเสียบ้าง และจัดให้มีกิจกรรมหลากหลายขึ้นมาทดแทน แต่คำถามที่ตามมาคือ โรงเรียนพร้อมไหม ครูพร้อมไหม

คำตอบจะเห็นชัดเจนขึ้นจากการทดลองนำร่อง 4,100 กว่าโรงเรียน ซึ่งจะมีการประเมินในอีก 4 เดือนข้างหน้าว่าสิ่งที่ รมว.กระทรวงศึกษาฯ ตั้งเป้าหมายฝึกฝนเสริมทักษะเด็กไทยใน 4 ด้านจะได้ผลหรือไม่ คือ 1) ด้านสติปัญญา (Head) ที่จะช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นมากกว่าแค่ท่องจำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ 2) ด้านทัศนคติ (Heart) ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เคารพกฎกติกา และมีระเบียบวินัย 3) ด้านเรียนรู้และปฏิบัติจริง (Hand) ที่เปิดโอกาสให้ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 4) ด้านสุขภาพ (Health) เพื่อให้เด็กได้ฝึกซ้อมการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง

ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ครู และผู้บริหารโรงเรียน ต้องเปลี่ยนระบบคิดจากที่เน้นวิชาการอย่างเดียวมาจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วย เช่นเดียวกับผู้ปกครองที่ยังมีบางส่วนไม่เห็นด้วย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่ป่วยหนักจะต้องทำมากกว่า "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" คือ หนึ่ง-ต้องมีการปฏิรูปหลักสูตรถ้าจะให้ดีต้องกล้ายกเลิกหลักสูตรเก่าไปเลยเพราะใช้มานาน ล้าสมัย แล้วยกร่างขึ้นใหม่มาใช้แทน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการเคยมีการหารือและยืดเยื้อมานานกว่าปีแล้ว โดยมีข้อเสนอกันว่าอาจต้องลดกลุ่มสาระการเรียนรู้จาก 8 กลุ่มสาระ เหลือ 5 กลุ่มสาระเท่านั้น

หากลดเวลาเรียนเพียงขาเดียว แต่หลักสูตรยังบังคับให้เรียนรู้แบบมากล้นเยอะแยะไปหมดซึ่งบางครั้งก็เป็นการเยอะแบบซ้ำซ้อนก็แทบจะไม่ได้ลด ชั่วโมงเรียนลง เนื่องจากเมื่อครูสอนไม่ทันตามหลักสูตรก็ต้องนัดเด็กมาเรียนเพิ่มเติมในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือเย็นหลังเลิกกิจกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแทบทุกวิชาหลักในเวลานี้ ยิ่งลดเวลาเรียนแต่ละคาบลงเหลือเพียง 40 นาที จาก 50 นาที เอาแค่เดินเปลี่ยนคาบเรียน ครูเข้ามาบ่น มาเมาท์มอยเรื่องส่วนตัวบ้างบางครั้งก็กินเวลาไปจนแทบไม่ได้เรียนอะไร โดยเฉพาะวิชาหลักที่ต้องใช้เวลาเรียนทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม เมื่อมีเวลาสอนไม่พอก็สั่งงานการบ้าน วันหนึ่งๆ เรียนกี่วิชาๆ ครูแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่สั่งการบ้านทั้งสิ้น

นี่ยังไม่นับว่าต้องไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบแข่งขัน วัดผล รวมทั้งเรียนเพิ่มเติมในวิชาที่โรงเรียนไม่ได้มีการเรียนการสอนเพียงพอที่นักเรียนจะมีความรู้เพื่อนำไปสอบเข้าเรียนต่อ เช่น ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ เป็นต้น สุดท้ายก็ไม่มีเวลาเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ Head Heart Hand Health แต่อย่างใด

และไม่นับว่าบางโรงเรียนไม่พร้อมจัดกิจกรรม ไม่มีความหลากหลาย กลายเป็นว่าเด็กนักเรียนถูกบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่โรงเรียนจัดให้ไม่ใช่ตามที่นักเรียนสนใจ

ที่สำคัญ การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ก็ต้องตอบโจทย์ใหญ่ของระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งระดับมัธยมปลายและระดับมหาวิทยาลัยไปพร้อมกันด้วย เพราะโลกของความเป็นจริงทุกวันนี้ก็คือ ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นออกมาล้ำหน้าเกินกว่าที่มีเรียนมีสอนกันในระดับ มัธยมศึกษา บางเนื้อหา บางวิชา เช่น ศิลปะ ดนตรี ไม่มีการเรียนการสอนพอที่จะนำไปสอบแข่งขันเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา นักเรียนต้องขวนขวายหาความรู้ด้วยการไปเรียนกวดวิชาเอาเอง เป็นต้น

สอง การปฏิรูปครู เรื่องนี้เรื่องใหญ่ หลักสูตรจะเลอเลิศแค่ไหนถ้าครูผู้ถ่ายทอดความรู้ยังเป็นอยู่ในสภาพเช่นเวลานี้ก็เท่ากับว่าห่วงโซ่ที่เป็นข้อต่อสำคัญในการถ่ายทอดความรู้จากหลักสูตรสู่ผู้เรียนมีปัญหา ไม่ใช่ปัญหาเรื่องผลตอบแทนหรือไม่มีใครอยากเป็นครูเหมือนเมื่อก่อน เพราะทุกวันนี้ครูได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา และมีผู้ที่อยากเป็นครูมากล้นดูจากการสอบแข่งขันบรรจุครูในแต่ละปี แข่งกันชนิดลงทุนทุจริตอื้อฉาวกัน ทุกครั้ง

ทำไมต้องปฏิรูปครู ก็เพราะครูเป็นตัวแปรสำคัญการศึกษาของนักเรียนนั้นจะสัมฤทธิผลหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับครู ปัญหาของครูที่ต้องปฏิรูปนอกจากจะเป็นเรื่องคุณภาพของครูแล้ว ยังเป็นปัญหาของระบบที่ประเมินครูด้วยที่ทำให้ "ครูไม่เห็นหัวนักเรียน" เพราะความดีความชอบของครูประเมินกันที่ "กระดาษ" มากกว่าความเป็นจริง ดังที่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เคยกล่าวไว้ในปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "ประเทศไทยกับอนาคตใหม่ทางการศึกษา" ที่สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัทซัมซุงฯ ร่วมจัดสัมมนา "Education for the Future : ปรับห้องเรียน เปลี่ยนอนาคต" ฯ ดังนี้

อันดับแรกต้อง "คืนครูกลับสู่ห้องเรียน" เนื่องจากไม่มีประโยชน์อันใดที่เด็กอยู่ในห้องเรียนปีละเป็น 1,000- 1,200 ชั่วโมง แต่ครูไม่อยู่ในห้องเรียน ซึ่งจากการสำรวจปีหนึ่งๆ พบว่าครูใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้ครูไม่สามารถอยู่ในห้องเรียนได้ถึง 84 วัน ปีหนึ่งมี 365 วัน มีวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดต่างๆ จะเหลือเวลา 200 กว่าวัน ฉะนั้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว เวลาที่ครูจะไม่ได้เจอนักเรียนหายไปถึง 42% นั่นคือ ใน 1,000 ชั่วโมง นักเรียนจะได้เจอครูก็เหลือประมาณ 600 ชั่วโมง แล้วครูทำอะไรเมื่อไม่ได้อยู่ในห้องเรียน มี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ ใช้เวลาการประเมินจากหน่วยงานภายนอก เช่น การประเมินโรงเรียนโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาฯ หรือ สมศ.การประเมินตัวครูเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่ง และการประเมินนักเรียนโดยการให้นักเรียนไปสอบแข่งขันต่างๆ

การประเมินโรงเรียนของ สมศ.เป็นกิจกรรมที่ครูคิดว่าไม่มีประโยชน์มากที่สุดคือ เพราะไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาการศึกษา ขณะที่ สมศ.ใช้งบสำหรับการประเมินโรงเรียนในช่วง 5 ปี สูงถึง 1,800 ล้านบาท แถมผลศึกษาที่ทีดีอาร์ไอไปค้นพบยังน่าตกใจมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนคุณภาพระดับไหน ข้อเสนอแนะก็ออกมาคล้ายๆ กัน คือ "โรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น ควรส่งเสริมให้สามารถใช้กับชีวิตประจำวันได้ และพัฒนาทักษะการคิด ทำให้เกิดความสุขในชีวิต" เป็นที่น่าสงสัยว่าจะใช้วิธี Cut and Paste ด้วยหรือเปล่า? การประเมินโรงเรียนจึงออกมาแบบไม่มีประโยชน์

ดังนั้น ต้องคืนครูสู่ห้องเรียน และเปลี่ยนระบบการประเมินโรงเรียนใหม่แทนที่จะประเมินโดยการตรวจเอกสาร กลายเป็นว่าห้องเรียนจริงเป็นอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับการเขียนลงไปในกระดาษใช้หลอกกันไป

อันดับที่สอง ต้องคืนครูที่พร้อมและครูที่เก่งกลับสู่ห้องเรียนด้วย เพราะครูที่ดี สอนเก่ง พร้อม และอยากจะสอน จะช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นเรื่องจำเป็นกับการยกระดับการศึกษา และเมื่อผลตอบแทนครูสูงขึ้น มีการสอบแข่งขันกันมาก มีโอกาสที่จะได้คัดเลือกครูสู่ห้องเรียน แต่ปัญหาคือระบบคัดเลือกครูเวลานี้ไม่ว่าจะมีการแข่งขันสูงแค่ไหนก็จะไม่ได้ครูที่ดีเข้าสู่ห้องเรียนเพราะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น ใช้การสอบข้อเขียนเป็นหลัก ดังนั้นครูได้เข้าไปสอนอาจมีความรู้แต่ทักษะการสอนดีหรือไม่ก็ไม่แน่ และไม่มีการดูผลงาน ดูประวัติ สอบสัมภาษณ์ก็ไม่ได้ใช้ผลของการสัมภาษณ์จริงๆ ขณะที่การออกข้อสอบของเขตการศึกษาก็ต่างออกกันเองเพื่อให้ได้ครู

แต่ที่สำคัญที่สุด คือ โรงเรียนไม่มีสิทธิ์เลือกครู ทั้งที่หากให้โรงเรียนสามารถคัดเลือกครูเองได้จะทำให้ได้ครูตรงกับความต้องการมากขึ้น ขณะเดียวกันการผลิตครูก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงมีการประกาศผลสอบคัดเลือกว่าสถาบันไหนผลิตครูออกมาแล้วสามารถไปสอบเป็นครูได้จริง เพื่อสะท้อนคุณภาพของสถาบันการศึกษาเป็นแรงกดดันให้ปรับปรุงให้ดีขึ้น

อันดับที่สาม ปรับระบบการประเมินผลที่ "กระดาษ" ทำให้ครูทิ้งห้องเรียน เพราะหากดูดัชนีชี้วัดจะวัดทักษะการสอนแค่ 30% อีก 70% วัดจากจริยธรรมและผลปฏิบัติงานอื่นซึ่งยากที่วัดได้อย่างถูกต้อง ผู้อำนวยการบางคนก็ให้ครูที่สนิทสนมได้คะแนนตรงนี้มากทำให้เป็นปัญหา เช่นเดียวกันกับการเลื่อนวิทยฐานะที่ดูจากผลการเรียนของนักเรียนเพียง 3% ขณะที่เรื่องอื่น เช่น ผลงานวิชาการ ให้น้ำหนักถึง 13% ครูที่อยากก้าวหน้าในอาชีพก็แห่ไปทำงานวิชาการ เขียนบทความวิชาการของตนเองมากกว่าจะพัฒนาการสอนในห้องเรียน เป็นการประเมินผลที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็นจริงๆ

การปรับลดเวลาเรียนเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ จึงเป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของการพัฒนาระบบการศึกษาไทยโดยลดความเครียดของเด็กนักเรียนลงเพื่อฝึกเสริมทักษะ Head Heart Hand Health ขณะที่ประเด็นที่เป็นเป้าหมายสำคัญซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ในการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมก็คือ เป้าหมายของการศึกษาเพื่ออะไร ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ในการพัฒนาประเทศไทยด้วยว่าเราจะก้าวไปทางไหน เราจะผลิตคนที่มีคุณภาพเพื่อรองรับทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไรยังไม่ชัดเจน?

เวลานี้ สถาบันการศึกษาแห่ผลิตนักเรียนสายสามัญเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ขณะที่สายวิชาชีพไม่มีใครอยากเรียนขณะที่ประเทศชาติขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในแทบทุกสาขาอาชีพ ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก่อสร้าง ฯลฯ โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ต้องการแรงงานมีฝีมือ มีความคิด มีทักษะในการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญและเป็นจุดแข็งของประเทศ

ซูเปอร์บอร์ดการศึกษาที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั่งหัวโต๊ะ ต้องชัดเจนในเป้าหมายของการศึกษา เป้าหมายของการพัฒนาประเทศ ไม่เช่นนั้นการปฏิรูปการศึกษา ก็เป็นแต่เพียงการปฏิลูบ แค่ลูบๆ คลำๆ และการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ก็เป็นแค่อีเวนต์ แคมเปญช่วงโปรโมชันให้เด็กนักเรียนลั้ลลาของรัฐมนตรีการศึกษาคนใหม่ก็เท่านั้น

 

 

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558


"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ตาบอดคลำช้าง หรือมาถูกทางแล้วลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ตาบอดคลำช้างหรือมาถูกทางแล้ว

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

เปิดอ่าน 18,574 ☕ 30 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 104 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 449 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,711 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 820 ☕ 15 เม.ย. 2567

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)
เปิดอ่าน 9,221 ☕ 11 เม.ย. 2567

ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
ครม.อนุมัติแล้วเงินจ้างนักการภารโรง 13,751 อัตรา ระหว่าง พ.ค.-ก.ย.67 ประเมินผลทุกสิ้นเดือนไม่ผ่านเปลี่ยนคน
เปิดอ่าน 3,360 ☕ 10 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เหตุใดน้ำแข็ง จึงลอยอยู่บนน้ำได้
เหตุใดน้ำแข็ง จึงลอยอยู่บนน้ำได้
เปิดอ่าน 56,721 ครั้ง

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project
เปิดอ่าน 17,675 ครั้ง

การรักษาโรคตาแห้ง
การรักษาโรคตาแห้ง
เปิดอ่าน 15,896 ครั้ง

พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555
เปิดอ่าน 27,110 ครั้ง

"สมุนไพร" ส่วนประกอบอาหารไทยที่มีคุณค่า
"สมุนไพร" ส่วนประกอบอาหารไทยที่มีคุณค่า
เปิดอ่าน 13,558 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ