ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก


บทความการศึกษา 10 ก.ย. 2558 เวลา 14:46 น. เปิดอ่าน : 8,491 ครั้ง
การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก

Advertisement

ขณะที่หลายประเทศในอาเซียนก้าวหน้าทางการศึกษา ประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาตัวเองเพื่อไม่ให้ล้าหลังเช่นกัน

ผลการจัดอันดับของเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เรื่องความสามารถในการแข่งขันทางการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในปี 2556-2557 พบว่า จาก 148 ประเทศ ไทยอยู่ในอันดับที่ 37 ซึ่งหากมองในภาพรวมแม้ว่าไทยจะอยู่ระดับกลางๆ แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ ส่วนอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ สูงขึ้นมา 19 อันดับ หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่ที่เดิม อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจตามหลังประเทศอื่นในอาเซียน ทั้งที่ภาพนักเรียนไทยส่วนใหญ่ที่เราเห็นมักจะเน้นเรียนกันอย่างเอาเป็นเอาตาย อ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมสอบ ผู้ปกครองสรรหาสถาบันกวดวิชาเพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้แก่ลูกหลาน

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

แน่นอนว่าฝ่ายการศึกษาไทยก็ไม่หยุดนิ่ง มีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการศึกษาอยู่เรื่อยมา เพื่อให้การศึกษาไทยทัดเทียมชาติอื่น ๆ โดยหลังจากที่พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายให้กับผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 225 เขตทั่วประเทศ ประมาณ 3,500 โรงเรียน หนึ่งในนั้นคือ นโยบายปรับเวลาเรียน ให้เลิกเรียนเวลา 14.00 น. และให้ทำกิจกรรมที่สนใจแทนจนถึงเวลา 16.00 น. ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยจะเริ่มในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 หรือเดือนพฤศจิกายนนี้

พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ว่าลดเวลาเรียนไปสองชั่วโมงแล้วจะปล่อยให้เด็กไปเละเทะ แต่โรงเรียนจะหาความรู้ให้เด็ก โดยเด็กจะต้องมีความสุขไม่เครียดกับกิจกรรมในสองชั่วโมงหลังนี้ และกิจกรรมที่ว่านี้ต้องไม่สร้างภาระเพิ่มเติมให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กกลับบ้านไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวลหรือพะวงว่ามีการบ้านค้างอยู่ หรือกิจกรรมดนตรี ศิลปะ เป็นต้น โดยระหว่างดำเนินการนำร่อง 1 เทอมนี้ จะต้องศึกษา วิเคราะห์ ปรับแก้ และพัฒนาให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม เพื่อเป็นต้นแบบให้โรงเรียนที่เหลือใช้ดำเนินการต่อไป

"ผมมั่นใจว่านโยบายนี้เด็กจะมีความสุข และค่อนข้างมั่นใจด้วยว่าผู้ปกครองเองก็จะมีความสุขเมื่อเห็นลูกหลานมีความสุข ที่สำคัญแนวทางการลดเวลาเรียนที่จะเกิดขึ้นนี้ คณะทำงานได้ศึกษาแล้วว่าจะลดวิชาหลักไหนที่ไม่มีผลกระทบต่อเด็ก ไม่ใช่บังคับให้ลดเวลาเรียนแล้วต้องหลับหูหลับตาดำเนินการตามคำสั่ง" พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าว

ทั้งนี้ กิจกรรมหลังเลิกเรียนแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

1.การเรียนเสริมในวิชาที่เน้นปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา ศิลปะ

2.การเลือกทำกิจกรรมแบบเสรีตามความสนใจของเด็ก

3.การเรียนเสริมทักษะอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.การสอนเสริมให้กับเด็กที่เรียนอ่อนหลังจากมีการประกาศนโยบายลดเวลาเรียน ก็มีเสียงสะท้อนจากผู้ที่เกี่ยวข้องออกมา นายอำนวย พุทธมี ผู้อำนวยการโรงเรียนพญาไท ยอมรับว่า ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านอาจมีปัญหาอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน เช่น การมีครูที่มีความรู้เฉพาะด้านไม่เพียงพอ หรือการมีพื้นที่จำกัดในการทำกิจกรรม แต่เชื่อว่า หากมีการทำความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ก็น่าจะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับวงการการศึกษาของไทย

เช่นเดียวกับครูที่สอนในวิชาพลศึกษาและศิลปะ ที่ห่วงปัญหาเรื่องเวลาเรียน แต่ไม่ได้มองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับครู เพราะเป็นหน้าที่อยู่แล้ว และถ้าสามารถทำได้จริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี นางสาวอภิญญา สุขบัว ครูสอนวิชาศิลปะ โรงเรียนพญาไท ให้ความเห็นว่า การลดเวลาเรียนเป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้นักเรียนมีเวลาผ่อนคลาย สำหรับวิชาศิลปะ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หรืออีคิว และให้เด็กๆ ได้ผ่อนคลายจากการเรียนวิชาหนักๆ

ขณะที่ผู้ปกครองของเด็กมองว่า นโยบายนี้จะทำให้เด็กรู้จักการเข้าสังคมมากกว่าการมีแต่ความรู้เพียงอย่างเดียว

"ผมเห็นด้วยกับนโยบายนี้นะ เป็นการดีต่อลูกๆ ของเรา เพราะการลดเวลาเรียนให้น้อยลง จะทำให้เขาได้พักผ่อนมากขึ้น" นายสมศักดิ์ อรรธสุธานันท์ หนึ่งในผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนพญาไทให้ความเห็น

ขณะเดียวกันนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนพญาไท มีความยินดีและเห็นด้วยกับนโยบายนี้ เพื่อจะได้ใช้เวลาหลังเลิกเรียนพักผ่อน และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ รวมถึงเพิ่มเติมความรู้ในสาขาวิชาที่สนใจ

สทศ.นำร่องเพิ่มข้อสอบอัตนัย

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้หารือร่วมกับ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เกี่ยวกับการจัดสอบและประเมินผลต่าง ๆ โดยมีนโยบายให้ สทศ.ปรับข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต โดยให้เพิ่มข้อสอบแบบอัตนัยมากขึ้น เพราะข้อสอบอัตนัยสามารถวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กได้ ทั้งนี้จะให้เริ่มใช้ในการสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2559 ซึ่งจะจัดในช่วงต้นปี พ.ศ.2560 โดยจะนำร่องสอบระดับประถมศึกษาก่อน คือ ชั้น ป.6 ในวิชาภาษาไทย ภายใต้เงื่อนไขในการดำเนินการ ดังนี้

1. ให้มีระยะเวลาดำเนินการ เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอในเรื่องต่าง ๆ เช่น การตรวจกระดาษคำตอบอัตนัย การนำผลการสอบไปใช้ อาทิ ใส่ใน ปพ.1 ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น นำไปใช้ในการประกันคุณภาพ

2. มีงบประมาณสนับสนุน เช่น ค่าตรวจกระดาษคำตอบ ค่าอบรมและพัฒนาผู้ตรวจ ค่าพัฒนาโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ค่าครุภัณฑ์ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องสแกน เครื่องอ่าน เป็นต้น

3. การสอบโดยใช้ข้อสอบอัตนัย ไม่เกิน 20% ซึ่งในการสอบ สทศ. จะแบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อสอบปรนัย 80% และ ข้อสอบอัตนัย 20%

"ที่ผ่านมา สทศ.มักจะตกเป็นจำเลยของสังคม และถูกร้องเรียนมาตลอดว่า ข้อสอบไม่มีมาตรฐานและไม่ยุติธรรม แต่ผมเห็นว่า สทศ.จะต้องจัดสอบทดสอบต่อไป เพราะเป็นสถาบันทดสอบระดับชาติ เพียงแต่ต้องปรับข้อสอบให้สามารถวัดผลประเมินผลได้ตามความสามารถที่แท้จริงของเด็ก" นพ.ธีระเกียรติกล่าว

ส่วนที่ให้เริ่มใช้ข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทยกับเด็ก ป.6 ก่อน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นว่า เพราะต้องการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดวิเคราะห์ไม่เป็น ส่วนที่ยังไม่ใช้กับเด็กระดับมัธยมศึกษา หรือนำมาใช้ในข้อสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพราะเด็กอาจจะยังไม่คุ้นเคย ซึ่งอาจเกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดผลกระทบได้

จ้างทำวิทยานิพนธ์ พ้นสภาพนักศึกษา

ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังเร่งพัฒนานโยบายระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทางฝั่งอุดมศึกษาก็มีปัญหาที่ต้องแก้อย่างเร่งด่วนเช่นกัน อย่างปัญหาการรับจ้างทำสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของนิสิต นักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทย

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตื่นตัวที่จะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังถือเป็นเรื่องดี แต่ควรทำให้รุนแรงมากกว่านี้ด้วยการล่อซื้อเพื่อจับตัวผู้กระทำผิดให้ได้คาหนังคาเขา เพราะจะรอแต่ให้กรรมการผู้สอบวิทยานิพนธ์เป็นผู้จับผิดว่านิสิต นักศึกษาทำเองหรือไม่นั้น คงจะจับได้ยาก

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี เผยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาการจ้างทำสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของนิสิต นักศึกษา ซึ่งพบปัญหาเริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย โดยการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์นั้น ราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000-500,000 บาท จึงมีมติว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป หากพบนิสิต นักศึกษามีการจ้างทำ หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ จะถูกให้พ้นสภาพการเป็นนิสิต นักศึกษาทันที

ทั้งนี้ จะส่งรายชื่อให้มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ.ทุกแห่ง ไม่ให้รับเข้าศึกษาต่อ และได้มอบให้นิติกร ทปอ.ไปศึกษาข้อกฎหมายว่าจะเอาผิดผู้ที่รับจ้างทำอย่างไรได้บ้าง หากพบผู้รับจ้างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะถูกพิจารณาโทษทางวินัย โดยบทลงโทษขึ้นอยู่กับการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

ขอบคุณข้อมูลจากทีมข่าวนิวทีวี ทีวีดิจิตอลช่อง 18

ที่มา: หนังสือพิมพ์นิวร้อยแปด 


การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การศึกษาไทย 2.0

การศึกษาไทย 2.0


เปิดอ่าน 12,633 ครั้ง
ราชภัฏกับธนาคาร

ราชภัฏกับธนาคาร


เปิดอ่าน 7,618 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน

เปิดอ่าน 9,903 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ
เปิดอ่าน 9,732 ☕ คลิกอ่านเลย

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"
เปิดอ่าน 15,616 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
เปิดอ่าน 8,651 ☕ คลิกอ่านเลย

เงินเดือนเป็นความลับ
เงินเดือนเป็นความลับ
เปิดอ่าน 21,289 ☕ คลิกอ่านเลย

"ครูพันธุ์วิจัย" สร้างเด็กไทยคิดได้ทำเป็น
"ครูพันธุ์วิจัย" สร้างเด็กไทยคิดได้ทำเป็น
เปิดอ่าน 7,835 ☕ คลิกอ่านเลย

สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด
สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด
เปิดอ่าน 10,127 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำไมเวลาเกา จึงหายคัน
ทำไมเวลาเกา จึงหายคัน
เปิดอ่าน 15,746 ครั้ง

การศึกษาไทยเชื่อแล้วว่า.."บ้าจริง"
การศึกษาไทยเชื่อแล้วว่า.."บ้าจริง"
เปิดอ่าน 17,210 ครั้ง

40 ปี มนุษย์เหยียบจันทร์ กับความฝันสำรวจจักรวาล
40 ปี มนุษย์เหยียบจันทร์ กับความฝันสำรวจจักรวาล
เปิดอ่าน 8,857 ครั้ง

กริยา กับ กิริยา
กริยา กับ กิริยา
เปิดอ่าน 75,407 ครั้ง

วิธีลด ความดันโลหิตสูง
วิธีลด ความดันโลหิตสูง
เปิดอ่าน 11,363 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ