ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น


บทความการศึกษา 26 พ.ย. 2557 เวลา 10:57 น. เปิดอ่าน : 11,643 ครั้ง
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น

Advertisement

ถวิล ไพรสณฑ์

มีข่าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมาว่า จะให้แยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาออกมาตั้งเป็นกระทรวงอุดมศึกษา เพื่อกำกับ ดูแลการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งในและนอกระบบราชการ มหาวิทยาลัยเอกชน โดยไม่รวมมหาวิทยาลัยของกรุงเทพมหานคร

และในขณะเดียวกันก็จะแยกสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มาตั้งเป็นทบวงอาชีวศึกษา เพื่อกำกับ ดูแล การศึกษาอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชน

พออ่านข่าวแล้ว ผมก็มีความเห็นว่ามีการเข้าใจผิดแน่นอนตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีลงไปถึงผู้บริหารระดับสูงต่างๆ ของกระทรวงนี้ รวมทั้งสภาการศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาที่มีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แผนการศึกษา ให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วแต่กรณีก็ได้

เพราะการกระจายอำนาจตามหลักรัฐศาสตร์ไม่ใช่การแยกแล้วมาตั้งกระทรวงหรือทบวง การที่แยกออกมานั้นต้องถือเป็นการแบ่งอำนาจจากกระทรวงศึกษาธิการ แล้วมาตั้งกระทรวงหรือทบวงใหม่ ซึ่งก็ยังคงถือว่าเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางนั่นเอง
และก็มีองค์กรเดียวเท่านั้นที่ถือว่ารัฐกระจายอำนาจและหน้าที่ไปให้ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ถือเป็นการปกครองตนเองภายใต้กำกับของรัฐ

ข้อกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการเกิดขึ้นจากกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และ พ.ศ.2553 โดยการยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา 5 ฉบับ แล้วให้ใช้ฉบับนี้แทน

โดยให้จัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการออกเป็น

1.ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่...
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน...ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2553 ได้แยกสำนักงานนี้เป็น 2 สำนักงาน คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยหัวหน้าส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวง ยกเว้นสำนักงานรัฐมนตรีที่มีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าสำนักงาน

2.การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่ การศึกษา โดยคำนึงถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
เขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจุบันซึ่งถือเป็นหน่วยงานส่วนกลางในภูมิภาค แบ่งออกเป็น

- เขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 183 เขตพื้นที่
- เขตพื้นที่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 42 เขตพื้นที่

แต่ละเขตพื้นที่จะจัดระเบียบบริหารราชการออกเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

3.ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษา ระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นสถานศึกษาในสังกัดและที่เป็นสถานศึกษาในกำกับ

สำหรับข้อมูลสถานการศึกษาทุกระดับเมื่อปี พ.ศ.2555 มีดังนี้

- การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา)
กระทรวงศึกษาธิการ 31,286 โรงเรียน ถ้าแยกออกโดยตัวเลขคร่าวๆ จะมีโรงเรียนประถมศึกษาประมาณ 28,400 โรงเรียน ที่เหลือเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรุงเทพมหานคร 436 โรงเรียน
พัทยาและเทศบาล 1,292 โรงเรียน
สถานการศึกษาของเอกชน 3,709 โรงเรียน

- การศึกษาอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ 421 โรงเรียน
เอกชน 458 โรงเรียน

- การศึกษาอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ 79 มหาวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร 2 มหาวิทยาลัย
เอกชน 71 มหาวิทยาลัย

ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมโรงเรียนในการจัดการของหน่วยราชการอื่นอีกจำนวนหนึ่ง อีก 732 แห่ง

ข้อเท็จจริงและปัญหา
ประเด็นที่ผมขอเสนอเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาของไทยเราโดยเริ่มต้นก็คือ ข่าวคราวในทางลบที่เกิดขึ้นมากมายและเป็นประจำ ซึ่งมีผลกระทบต่อวงการศึกษามากก็คือ

1.ข่าวนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการอ่านหนังสือไทยไม่ออก ข่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งก็แน่ชัดว่าผู้รับผิดชอบคือครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวนี้สะท้อนให้เห็นโยงไปถึงคุณภาพทางการศึกษาโดยรวมด้วย เพราะเมื่อระดับนี้นักเรียนอ่านหนังสือไทยไม่ออก ก็ต้องตั้งคำถามแต่ต้นว่า แล้วเด็กเหล่านั้นผ่านการเลื่อนชั้นเรียนมาจนกระทั่งจบการศึกษาระดับประถมศึกษาได้อย่างไร

2.โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและกระทรวง ศึกษาธิการจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน และในข้อเท็จจริงได้จัดการแก้ไขอย่างไรหรือไม่

และที่สำคัญก็คือ นับแต่มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ 183 สำนักงานแล้ว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประถมศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการได้ตื่นตัวกับการบริหารอย่างไรบ้าง

3.นับตั้งแต่มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมา การจัดการศึกษาระดับพื้นฐานที่กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบก็ไม่ได้บรรลุล่วงไปตามเป้าหมาย โดยคุณภาพการศึกษากลับตกต่ำลง ซึ่งแตกต่างกับคุณภาพการศึกษาที่กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเทศบาล หรือที่เอกชนจัด กลับมีคุณภาพสูงขึ้น

ดังตัวอย่างการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อปี พ.ศ.2551 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ แต่อยู่ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2543 ได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษาดังกล่าวว่า

3.1 โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเมิน 14,196 โรงเรียน จากโรงเรียนทั้งหมดประมาณ 30,000 โรงเรียน โดยผ่านการรับรอง 11,057 โรงเรียน (77.89 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่านการรับรอง 3,139 โรงเรียน (22.1 เปอร์เซ็นต์)

3.2 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประเมินครบทั้ง 436 โรงเรียนที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยผ่านการรับรอง 430 โรงเรียน (96.43 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่านการรับรอง 6 โรงเรียน (4.19 เปอร์เซ็นต์)

3.3 โรงเรียนสังกัดเมืองพัทยาและเทศบาล 366 โรงเรียน โดยผ่านการรับรอง 326 โรงเรียน (89.07 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่านการรับรอง 40 โรงเรียน (10.93 เปอร์เซ็นต์)

3.4. โรงเรียนเอกชน 462 โรงเรียน โดยผ่านการรับรอง 462 โรงเรียน (90.77 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่านการรับรอง 47 โรงเรียน (9.23 เปอร์เซ็นต์)

จากผลการประเมินดังกล่าววิเคราะห์ได้ว่า โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับนี้ ไม่ผ่านการรับรองถึง 22.11 เปอร์เซ็นต์ คือ 3,139 โรงเรียน จาก 14,196 โรงเรียน ซึ่งถ้าประเมินครบทุกโรงเรียน คือ ประมาณ 30,000 กว่าโรงเรียน ตัวเลขที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพการศึกษาอาจจะถึง 5,000-6,000 โรงเรียนก็ได้

ซึ่งข้อมูลนี้แทบจะไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบแต่อย่างใด และผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าประเมินในปี 2557 จะผ่านการรับรองมากขึ้นหรือน้อยลง

และทราบว่าข้อมูลที่ออกไปประเมินจะเป็นเรื่องที่โรงเรียนตอบคำถามที่โรงเรียนได้เตรียมการไว้ด้วย ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลปรุงแต่งก็ได้ ขนาดปรุงแต่งยังมีผลออกมาเช่นนี้

ถ้า (สมศ.) เพิ่มเติมวิธีการประเมินโดยสอบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนโดยตรง ไม่ใช่ประเมินตามที่ครูเตรียมไว้ ผลการประเมินคงตกตะลึงกันทั้งประเทศว่าคุณภาพการศึกษาของไทยระดับนี้ ซึ่งมีผลต่อระดับสูงขึ้นไปด้วยนั้นค่อนข้างจะเลวร้ายขนาดไหน อาจจะไม่ผ่านการรับรองมากกว่าครึ่งหนึ่งก็ได้

ก็เหมือนที่มีข่าวว่าการศึกษาในประเทศไทยเกือบจะรั้งท้ายในประเทศกลุ่มอาเซียนแล้ว ทั้งๆ ที่เรามีการศึกษาทุกระดับถึงมหาวิทยาลัยจำนวนมากมาย มีการศึกษานอกโรงเรียน โรงเรียนกวดวิชาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งช่วยเสริมการเรียนรู้ของคนไทย

4.ข่าวคราวการทุจริตในการจัดซื้อ จัดจ้าง เช่น การสร้างสนามฟุตซอลที่กำลังดังอยู่ในขณะนี้ และข่าวการแต่งตั้ง โยกย้าย และเลื่อนตำแหน่งในกระทรวงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก็ต้องมีการเสียเงินและผลประโยชน์ต่างๆ มาก บางแห่งเรียกเงินโดยคำนวณเป็นระยะทางจากโรงเรียนเดิมไปโรงเรียนที่ขอโอนไปว่าไกลกี่กิโลเมตร ก็คำนวณคิดค่าจัดทำให้เป็นกิโลเมตร ก็มีข่าวพูดกันแพร่หลาย

5.ข่าวคราวครูส่วนหนึ่งใช้อาชีพครูเป็นอาชีพสำรอง โดยอาชีพหลักคืองานธุรกิจ โดยผู้บริหารที่โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่รู้เห็นเป็นใจด้วย

6.โรงเรียนบางโรงเรียนขาดกำลังครูเมื่อเปรียบเทียบกับปริ มาณนักเรียน ครูคนหนึ่งต้องสอนหลายชั้นในวันหนึ่ง บางแห่งก็จ้างครูชั่วคราวเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อสถานการณ์เป็นอย่างนี้แล้ว คุณภาพการศึกษาของนักเรียนจะมีได้อย่างไร

7.การบริหารบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาไม่เป็นไปตามหลัก ธรรมาภิบาล มีการเล่นพรรคเล่นพวกและผลประโยชน์ กำลังใจการทำงานจึงลดน้อยถอยไป ซึ่งมีผลกระทบกับการเรียนการสอนของนักเรียนด้วย

เหล่านี้คือปัญหาของการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษา ธิการที่เกิดขึ้นและเป็นมาอย่างช้านาน ทำให้การศึกษาจึงด้อยคุณภาพ ซึ่งกระทบต่อระบบกว้างทั้งประเทศมาก

ฉะนั้นการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคิดจะปฏิรูปแต่เพียงการแยกตั้งกระทรวง 2 กระทรวง ผมคิดว่าไม่ได้ผลอะไร เพราะคงยังอยู่ในวังวนเดิม คือ การรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลางเหมือนอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการนั่นแหละ

ข้อเสนอแนะ
ผมมีข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เกี่ยวข้องเพื่อปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการคือ การบริหารงานที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ คือ

1.ยุบเลิกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มี งานด้านศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ซึ่งปัจจุบันนี้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ให้ถือว่าเป็น หน่วยงานราชการส่วนกลางในภูมิภาค มิใช่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการจึงควรกำหนดเป็นนโยบายภายใน 10 ปี นับตั้งแต่ตรากฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของชาติขึ้นใหม่ให้โอนงานการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญก็คือ ผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประชาชนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลเหล่านั้นได้อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันประชาชนตื่นตัวกับการมีส่วนร่วมในทางการเมือง การบริหารมากขึ้น

ประชาชนต้องการเห็นลูกหลานของตนเองได้รับการศึกษาที่มีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพ จึงยินดีเสียสละเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของตนเอง เพราะเขาเลือกผู้รับผิดชอบด้วยตัวเขาเอง เขาจึงสามารถเรียกร้อง ติดตาม ตรวจสอบ ได้อย่างใกล้ชิด

ไม่เหมือนกับระบบการศึกษาปัจจุบันที่ผู้รับผิดชอบแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาไม่รู้ว่ามาจากไหน ประชาชนไม่รู้จัก ประชาชนไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการทำงาน เพราะเขาขึ้นอยู่กับส่วนกลาง คือกระทรวงและข้าราชการเหล่านี้มารับตำแหน่งก็เพราะผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่ประชาชนเหมือนนักการเมือง

เขามาอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ย้ายไปที่อื่น การเอาใจใส่ต่องานจึงน้อยกว่าคนท้องถิ่นที่ประชาชนเลือกมา

ไม่มีผู้บริหารท้องถิ่นไหนครับ ที่จะปล่อยให้ลูกหลานของเขาหรือในท้องถิ่นของเขาได้รับการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพหรอก ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเขาเห็นอย่างนี้ เขาก็ต้องรีบดำเนินการแก้ไขทันที เพราะมิฉะนั้นแล้วอย่าหวังว่าประชาชนจะให้ความไว้วางใจเลือกตั้งเข้ามาอีก

ที่ผมเสนอเช่นนี้ก็หวังล่วงหน้าว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการปฏิรูป โดยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้น เช่น มีการรวมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเล็กๆ ให้มีขนาดเพียงพอและเหมาะสมทั้งจำนวนประชากร พื้นที่ และรายได้

รัฐบาลเองก็ต้องให้เงินอุดหนุนเงินเดือนบุคลากรครูเหมือนปัจจุ บัน การพัฒนาด้านอื่นๆ ก็ให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วนทางด้านหลักสูตรการเรียนด้านวิชาการต่างๆ หรือนโยบายการศึกษาภาพรวม กระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้กำหนดและทำหน้าที่กำกับและติดตามประเมินผลด้วย

2.ผมมีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ - โรงเรียนในเขตเทศบาล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร ให้โอนไปให้ทั้งหมด โดยรัฐให้เงินอุดหนุนงบประมาณที่เกี่ยวกับเงินเดือนและค่าตอบแทนเหมือนปัจจุบัน ทั้งนี้ เพราะเห็นแล้วว่าองค์กรท้องถิ่นเหล่านี้สามารถจัดการการศึกษาได้คุณภาพมากกว่าที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ โดยให้โอนภายใน 5 ปี

- กรณีโรงเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีเป็นจำนวนมากนั้น ให้โอนไปให้หมดภายใน 10 ปี ภายหลังมีการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่รัฐบาล คสช.กำลังดำเนินการอยู่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก รายได้ไม่เพียงพอ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีรายได้มากขึ้น
สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่งที่มีงบประมาณเกิน 50 ล้านบาทต่อปี ก็ให้โอนไปให้ภายใน 5 ปีเช่นเดียวกับเทศบาล

3.กรณีโรงเรียนมัธยมศึกษาก็ให้โอนไปให้องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดภายใน 10 ปี เช่นเดียวกัน ส่วน กทม. เมืองพัทยา หรือเทศบาลที่มีงบประมาณจำนวนพอสมควรจะให้โอนการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาไปด้วยภายใน 10 ปีก็ได้

4.การโอนไปสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับบรรดาผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายตั้งแต่ครูและผู้บริหาร รวมทั้งต้องถามความต้องการของประชาชน โดยองค์กรที่เป็นกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้วย

เมื่อโอนไปแล้วหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยม ศึกษา รวมทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ต้องยกเลิกไป แล้วจัดสรรบุคลากรเหล่านั้นไปสังกัดหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ หรือจะโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ ทั้งนี้ จะไม่ใช่วิธีสั่งใครออกจากตำแหน่ง แต่จะออกไปเองเมื่อถึงวันเกษียณอายุ

5.กระทรวงศึกษาธิการเองก็จะมีหน้าที่สำคัญที่ต้องรับผิดชอบ ก็คือ

-การกำหนดนโยบายการศึกษาในภาพรวม
-การกำหนดหลักสูตร การเรียน การสอนหลัก
-การตรวจสอบและประเมินผลการศึกษาที่ต้องดำเนินการเป็นประจำ
-การส่งเสริมและอุดหนุนอื่นๆ

การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและเอาจริงเอาจังในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ และสอบคัดเลือกเข้าทำงานจากผู้ที่สอบได้คะแนนเกรดสูงกว่าปกติ การทดสอบคุณสมบัติส่วนตัวและเปิดสอบคัดเลือกจากกลุ่มนี้เพื่อเป็นครูตามความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยถือความเป็นคนในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นหลัก พร้อมทั้งกำหนดอัตราเงินเดือนที่เหมาะสมและจัดสวัสดิการต่างๆ เท่าที่จำเป็นให้

6.ผมเชื่อว่าความเอาใจใส่ต่อการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีมากกว่าอยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารท้องถิ่นก็คือคนในท้องถิ่น เด็กนักเรียนก็คือคนในท้องถิ่น ประชาชนในท้องถิ่นเอง ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับโรงเรียนและผู้บริหาร เขาคงไม่ยอมให้คนที่เขาเลือกตั้งเข้าไปทำให้บุตรหลานเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพแน่นอน

และที่สำคัญการให้ความร่วมมือสนับสนุนโรงเรียนทั้งด้านการเงินและอื่นๆ ก็กระทำได้ไม่ยาก ซึ่งต่างกับโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผู้บริหารระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นคนท้องถิ่นนั้นจริงๆ เพราะเขตพื้นที่การศึกษามีการแบ่งเขตให้ควบคุมดูแลบางแห่งหลายตำบลและหลายอำเภอก็มี การดูแลอย่างใกล้ชิดหรือเป็นคนในท้องที่จริงๆ ก็กระทำได้ยากกว่า
ประกอบกับเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมาย ก็เป็นราชการส่วนกลางในภูมิภาค ซึ่งก็ชัดเจนว่าเขตนี้คือราชการส่วนกลางที่ไปรวมยอดอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการที่กรุงเทพมหานคร การปฏิบัติงานจึงขาดความคล่องตัว และประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมน้อย

ทั้งหมดนี้คือข้อเสนอของผมที่ต้องการเห็นกระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกับความเป็นจริง โดยไม่ติดยึดกับระบบราชการที่มีมานานนับร้อยปีของกระทรวงนี้ และตราบใดยังจัดระบบฐานเป็นอย่างนี้โดยไม่กระจายอำนาจไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว การศึกษาของไทยจะไม่มีวันพัฒนาอยู่ในระดับแนวหน้า แม้แต่ในกลุ่มประเทศในอาเซียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพการศึกษานับวันจะด้อยลง แล้วเราจะยอมให้เกิดภาวการณ์เช่นนั้นหรือ

จากผลการประเมินผลการศึกษาเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ขององค์การมหาชนที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการก็ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว
จึงขอฝากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้กรุณาพิจารณาข้อเสนอของผมด้วยก็อาจจะเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาของเราได้.

 

 

ที่มา ไทยโพสต์ 26 November 2014


ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559


เปิดอ่าน 8,487 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา ถึงเวลาทบทวนวิธีการแล้วหรือยัง?

ระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา ถึงเวลาทบทวนวิธีการแล้วหรือยัง?

เปิดอ่าน 8,650 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"ครู" ผู้เปลี่ยนชีวิต "ศิษย์"
"ครู" ผู้เปลี่ยนชีวิต "ศิษย์"
เปิดอ่าน 11,434 ☕ คลิกอ่านเลย

6 ปัญหาที่เด็กม.ปลายต้องเจอและผ่านไปให้ได้
6 ปัญหาที่เด็กม.ปลายต้องเจอและผ่านไปให้ได้
เปิดอ่าน 28,969 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล ต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน
ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล ต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน
เปิดอ่าน 7,588 ☕ คลิกอ่านเลย

อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน
อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน
เปิดอ่าน 10,811 ☕ คลิกอ่านเลย

หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
เปิดอ่าน 427,887 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21
ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21
เปิดอ่าน 33,971 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

10 ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด
10 ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด
เปิดอ่าน 1,872 ครั้ง

5 เหตุผลดีๆ ที่คุณควรออกกำลัง
5 เหตุผลดีๆ ที่คุณควรออกกำลัง
เปิดอ่าน 9,318 ครั้ง

องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?
เปิดอ่าน 61,884 ครั้ง

การย้ายพนักงานงานราชการ
การย้ายพนักงานงานราชการ
เปิดอ่าน 18,336 ครั้ง

จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง
จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง
เปิดอ่าน 16,289 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ