ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ภาษาเขียนและตัวอักษร


ภาษาไทย เปิดอ่าน : 23,193 ครั้ง
ภาษาเขียนและตัวอักษร

Advertisement

ภาษาเขียนและตัวอักษร โดย นางวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์

          นักภาษาประมาณว่าในโลกเรามีภาษที่ใช้พูดกันอยู่ราวๆ ๓,๐๐๐ ภาษา แต่ภาษาที่มีตัวอักษรมีอยู่ไม่ถึง ๕% การประดิษฐ์ภาษาเขียนขึ้นในสังคมใดๆ ก็ตาม นับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ของสังคมนั้นๆ เพราะภาษา เขียนทำให้สังคมพัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไปจากเดิมมาก ในสังคมที่ไม่มีภาษาเขียน การ ดำเนินชีวิตมักเป็นไปตามกรอบประเพณีที่สืบทอดมาอย่างเคร่งครัด การเรียนการสอนใดๆ  ย่อมอาศัยการฟัง การฝึกปฏิบัติ เป็นหลักสำคัญการท่องจำการทำซ้ำแล้วอีกเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการท่องจำนับเป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเก็บรักษา ไม่พึงทำให้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ในการเรียนการพูดใดๆ จะต้องมี ๒ ฝ่ายเสมอ เนื่องจากความจำของมนุษย์มีขอบเขตจำกัด การจำจึงทำได้อย่างมีขอบเขตที่จำกัดเช่นกัน ตัวอักษรทำให้ข้อจำกัดนี้หมดไปมนุษย์สามารถบันทึกเรื่องราวใช้หูฟังมาเป็นการใช้เครื่องมือเขียนและใช้สายตาอ่าน การเขียนทำให้เกิดสภาพการใช้ภาษาเพียงคนเดียวหรือฝ่ายเดียวได้ คือ อ่านและเขียนคนเดียวได้ ภาษาเขียนทำให้เกิดการเรียนการสอนที่ กว้างไกล ผู้เรียนไม่ต้องเห็นหน้าผู้สอนก็ได้ เพราะเหตุนี้การเผยแพร่ศาสนา การศึกษาในโรงเรียน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ จึงเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ว่าการเขียนจะทำให้เกิดความก้าวหน้าเท่าใดก็ตาม ภาษาเขียนก็ยังต้องผูกพันกับภาษาพูด สังคมมนุษย์ทุกสังคมมีภาษาพูด แต่ตัว อักษรมีในบางสังคมเท่านั้น และไม่มีสังคมใดที่มี แต่ภาษาเขียนและตัวอักษรโดยไม่มีภาษาพูด
          ตัวอักษรที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมีหลายรูปแบบแบบแรกเริ่มเป็นภาษาเขียนที่ใช้แทนความหมายสัญลักษณ์หนึ่งใช้แทนความคิดหรือความหมายหนึ่ง เช่น ดวงอาทิตย์ หมายถึงวัน แต่รูปแบบภาพธรรมดา ที่ไม่ได้ใช้แทนความหมายอื่นไม่นับเป็นตัวอักษร ตัวอักษรจีนซึ่งมีใช้นานหลายพันปีเป็นภาษาเขียนที่ใช้แทนคำหรือความคิด ดังนั้นคนจีนที่พูดกันคนละภาษา เช่น จีนกลางกับจีนแต้จิ๋ว ซึ่งต่าง กันมาก และไม่สามารถพูดกันได้รู้เรื่อง สามารถอ่านภาษาเดียวกันได้เพราะเป็นภาษาที่แทนคำหรือความคิด ตัวอักษรหนึ่งอาจใช้แทนความคิดว่า เช่น คน หรือ น้ำ ได้โดยไม่เกี่ยวกับเสียงในภาษาเลย ผู้ที่ออกเสียงคำต่างกันจึงอ่านภาษาเดียวกันได้แต่คำในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนมากมาย การเขียนแบบนี้จึงต้องมีตัวเขียนจำนวนมหาศาลด้วยการเขียนอีกแบบหนึ่งเป็นตัวเขียนแทนพยางค์ เช่น  ภาษาญี่ปุ่น ตัวเขียนแบบนี้หนึ่งตัวแทนพยางค์หนึ่งพยางค์ จำนวนตัวเขียนในภาษาน้อยลงกว่าแบบแทนคำ แต่ก็ยังมีจำนวนมากอยู่
          ตัวอักษรแบบที่พัฒนามากที่สุดเป็นตัวอักษรแทนเสียงที่ใช้อยู่ในภาษา แต่ละภาษาใช้เสียงจำนวนจำกัด ในขณะที่คำในแต่ละภาษามีคำเป็นจำนวนพันจำนวนหมื่น ไม่มีภาษาใดที่ใช้เสียงถึง ๑๐๐ เสียง ภาษาเขียนแบบนี้จึงมีตัวหนังสือน้อยกว่าภาษาเขียน ๒ แบบแรกมาก การเขียนแบบตัวอักษรนี้เกี่ยวข้องกับเสียงในภาษาโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องเฉพาะของภาษาใดภาษาหนึ่งการเขียนแบบตัวอักษรที่ประดิษฐ์ในยุคแรกๆไม่มีตัวอักษรแทนเสียงสระ เช่น ภาษาฮีบรู   ภาษาอารบิค การเขียนในสมัยต่อมาได้พัฒนาให้มีทั้งอักษรแทนเสียงพยัญชนะและสระ และการเขียนของไทยนับว่าพัฒนาไปไกลมาก คือนอกจากมีตัวเขียนแทนเสียงพยัญชนะและสระแล้ว ยังมีตัวเขียนกำกับเสียงวรรณยุกต์อีกด้วย นับว่าเป็น ตัวเขียนที่เป็นตัวอักษรแทนเสียงในภาษาได้ใกล้เคียงที่สุด
          ภาษาเขียนต่างจากภาษาพูดตรงที่เมื่อเขียนขึ้นมาแล้วมักคงรูปอยู่แบบเดิม ผู้ใช้มักไม่เปลี่ยนแปลงภาษาเขียน และในหลายสังคมถือว่าภาษาเขียนเป็นศักดิ์สิทธิ์และเป็นมรดกจากสังคมโบราณ ซึ่งพึงอนุรักษ์ ไว้ ส่วนภาษาพูดนั้นเป็นสิ่งที่ติดอยู่กับตัวผู้ใช้ภาษาจึงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพการใช้ภาษาตลอดเวลาเพราะเหตุนี้ ในปัจจุบันภาษาเขียนของหลายภาษาจึงต่างจากภาษาพูด โดยเฉพาะภาษาที่ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้มานานแล้ว เสียงในภาษาพูดปัจจุบันอาจเปลี่ยนไปหรือต่างไปจากเสียงเดิม ตัวอักษรซึ่งประดิษฐ์มานานแล้วจึงยังแทนเสียงในภาษาเดิมอยู่ และไม่ใช่ตัวแทนเสียงของภาษาในปัจจุบันอย่างสมบูรณ์
          ในสังคมโบราณของโลก การเขียนการบันทึกทั้งหมดเกิดจากสังคมที่เป็นเมืองแล้ว ซึ่งหมายถึงว่าเป็นสังคมที่มีคนมากและเป็นคนที่มีการประกอบอาชีพต่างกัน ไม่เหมือนสังคมหมู่บ้านที่ส่วนใหญ่คนมักมีอาชีพเดียวกัน และคนในเมืองมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่นหลากหลายมากกว่า มีการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน ฯลฯ รวมความแล้วก็คือ กิจกรรมต่างๆ ของคนในสังคมเมือง เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการเขียน การบันทึกขึ้น ภาษาเขียนสุเมเรียนซึ่งเป็นภาษาเขียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ ปี มีบันทึกรายชื่อสิ่งของและรายชื่อคนมากมายศาสนาก็เป็นแรงผลักดันที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น วัดหรือโบสถ์ในสังคมโบราณ หลายแห่งในโลก มักมีบัญชีรายชื่อคนและสิ่งของที่ผู้คนนำมาบริจาคให้



การเรียนการสอนผ่านทางสื่อสารมวลชน


ในระยะแรกเริ่ม มนุษย์ใช้ภาพเป็นสื่อแทนความหมายและความคิด


ตัวอักษรในสมัยปัจจุบัน

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
นางวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์


ภาษาเขียนและตัวอักษร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง


เปิดอ่าน 337,861 ครั้ง
อักษรไทยสมัยสุโขทัย

อักษรไทยสมัยสุโขทัย


เปิดอ่าน 45,467 ครั้ง
คํานาม

คํานาม


เปิดอ่าน 17,838 ครั้ง
โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ


เปิดอ่าน 87,263 ครั้ง
สักวา

สักวา


เปิดอ่าน 46,728 ครั้ง
ความสำคัญของภาษาไทย

ความสำคัญของภาษาไทย


เปิดอ่าน 336,343 ครั้ง
สำนวนไทย

สำนวนไทย


เปิดอ่าน 79,205 ครั้ง
สุภาษิต หรือ ภาษิต

สุภาษิต หรือ ภาษิต


เปิดอ่าน 44,571 ครั้ง
เอเปก หรือ เอเปค

เอเปก หรือ เอเปค


เปิดอ่าน 3,905 ครั้ง
คำพังเพย

คำพังเพย


เปิดอ่าน 43,410 ครั้ง
เกลือ

เกลือ


เปิดอ่าน 57,031 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"

เปิดอ่าน 54,910 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คํานาม
คํานาม
เปิดอ่าน 17,838 ☕ คลิกอ่านเลย

ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เปิดอ่าน 16,022 ☕ คลิกอ่านเลย

     กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘  พร้อมตัวอย่าง ง่ายต่อการจดจำ
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ พร้อมตัวอย่าง ง่ายต่อการจดจำ
เปิดอ่าน 443,815 ☕ คลิกอ่านเลย

ตัวหนังสือไทย
ตัวหนังสือไทย
เปิดอ่าน 23,618 ☕ คลิกอ่านเลย

ย้อนอดีตสอนภาษาไทย : แจกลูก-สะกดคำ
ย้อนอดีตสอนภาษาไทย : แจกลูก-สะกดคำ
เปิดอ่าน 34,774 ☕ คลิกอ่านเลย

คำว่า "สวัสดี" เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไทย เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พ.ศ.2486
คำว่า "สวัสดี" เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไทย เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พ.ศ.2486
เปิดอ่าน 50,606 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สามัญชนคนไทย : โรงเรียนในฝัน
สามัญชนคนไทย : โรงเรียนในฝัน
เปิดอ่าน 14,292 ครั้ง

ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์
เปิดอ่าน 18,762 ครั้ง

เฉลยที่มาคำถาม ... "อยากให้พรุ่งนี้เป็นเมื่อวาน .. วันนี้จะได้เป็นวันศุกร์"
เฉลยที่มาคำถาม ... "อยากให้พรุ่งนี้เป็นเมื่อวาน .. วันนี้จะได้เป็นวันศุกร์"
เปิดอ่าน 71,379 ครั้ง

1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป
1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป
เปิดอ่าน 9,293 ครั้ง

โซเชียลแชร์ กระดาษคำตอบแบบใหม่ กันลอกข้อสอบ
โซเชียลแชร์ กระดาษคำตอบแบบใหม่ กันลอกข้อสอบ
เปิดอ่าน 13,377 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ