ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา


ข่าวการศึกษา 10 ต.ค. 2556 เวลา 09:23 น. เปิดอ่าน : 19,334 ครั้ง
ข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา

Advertisement

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการพิจารณาของที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 เรื่อง ข้อสรุปของการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ทุกสังกัด


รมว.ศธ.กล่าวว่า สืบเนื่องจาก ศธ.ได้เคยพิจารณาการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนในส่วนของอุดมศึกษา โดยมีสถาบันการศึกษาจำนวนหนึ่งได้เลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 เป็นช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ (ประเทศตะวันตก) และก็ได้มีการพิจารณาต่อเนื่องต่อไปว่า ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาควรจะเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนด้วยหรือไม่ ซึ่งเดิมมีข้อสรุปว่าจะเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 จากวันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันที่ 10 มิถุนายน และภาคเรียนที่ 2 จากวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 26 พฤศจิกายน และได้มีการเห็นชอบแล้ว แต่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขระเบียบและได้มีการเผยแพร่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ไปบ้างแล้ว

ต่อมา ศธ.ได้มีการหารือ รับฟังความคิดเห็น และสำรวจความคิดเห็น ทั้งที่ รมว.ศธ.ได้ร่วมหารือเอง และมอบหมายให้ รมช.ศธ. และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. และองค์กรหลักหารือร่วมกัน รวมทั้งมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน กับไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ดังนี้

 

ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย
การเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน กับไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน

 
 

การเปิดปิดภาคเรียน

ข้อดี

ข้อเสีย

ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ

 
 

เดิม

ภาคเรียนที่ 1
เปิด 16 พฤษภาคม
ปิด 11 ตุลาคม

ภาคเรียนที่ 2
เปิด 1 พฤศจิกายน
ปิด 1 เมษายน

1. ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม

2. ไม่กระทบต่อประเพณีสงกรานต์

3. นักเรียน ม.6 มีเวลาดูหนังสือ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย และเรียนจบหลักสูตรก่อนการสอบ
แอดมิชชั่น

4. ไม่ต้องแก้ไขระเบียบ กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง

5. ไม่กระทบต่อการขอรับเงินอุดหนุนรายหัว

6. ผู้สำเร็จ ปวช./ปวส. เข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันความต้องการ

7. ไม่กระทบต่อปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้าและการขาดแคลนน้ำดื่ม เนื่องจากภัยแล้ง

1. นักศึกษาฝึกสอนคณะครุศาสตร์ ไม่มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการฝึกสอน 1. กำหนดเวลาการเปิดปิดภาคเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มอาเซียนเปิดปิดไม่พร้อมกัน ดังนี้

 - กลุ่มหนึ่ง เปิดช่วงเดือนมกราคม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย  และสิงคโปร์
 - กลุ่มสอง เปิดช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
 - กลุ่มสาม เปิดช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ได้แก่ กัมพูชา ลาว
เมียนมาร์ และเวียดนาม
 
2. การสอบแอดมิชชั่น ทปอ. ให้สถาบันอุดม- ศึกษา ปรับปฏิทินการรับนักศึกษาแล้ว การเลื่อนหรือไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนไม่กระทบ โดยในปี 2557 การสอบแอดมิชชั่นอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
 
3. การสอบ GAT/PAT การเลื่อนหรือไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนมีผลเท่ากัน เพราะอยู่ในช่วงเวลาเรียนเช่นเดียวกัน
 
4. หากเลื่อนการเปิดปิดภาคเรียน อาจส่งผลให้นักศึกษาต้องใช้เวลาในการเรียนมากกว่าเดิมจากเดิม 16 ปี เป็น 16 ปีครึ่ง เพราะสถาบันอุดมศึกษาได้เลื่อนเวลาเปิดปิดภาคเรียนออกไป

 
 

ใหม่

ภาคเรียนที่ 1
เปิด 10 มิถุนายน
ปิด 4 พฤศจิกายน

ภาคเรียนที่ 2
เปิด 26 พฤศจิกายน
ปิด 26 เมษายน

1. นักศึกษาฝึกสอนคณะครุศาสตร์ ไม่มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการฝึกสอน

2. ระยะห่างของการปิดภาคเรียนนักเรียน ม.6 จะมีเวลาเหมาะสมกับการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย

1. ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ อาจประสบปัญหาน้ำท่วม การจราจรติดขัด

2. กระทบต่อประเพณีวันสงกรานต์

3. ต้องแก้ไขระเบียบกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง 
 
4. กระทบต่อการขอรับเงินอุดหนุนรายหัว

5. ผู้สำเร็จ ปวช./ปวส. อาจเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่ทันความต้องการ

6. กระทบต่อปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้าและการขาดแคลนน้ำดื่ม เนื่องจากภัยแล้ง

 

ดังนั้น ศธ.จึงมีมติไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน หมายความว่า จะให้มีการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิม คือ ภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 16 พฤษภาคม-11 ตุลาคม และภาคเรียนที่ 2 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน-1 เมษายน เพราะมีข้อดีมากกว่าการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนมาก ที่สำคัญคือ เมื่อคำนึงถึงการเรียนส่วนใหญ่ของนักเรียน กล่าวคือ ป.1-ม.5 มีความสอดคล้องในแง่ภูมิอากาศ การใช้พลังงาน ประเพณี ที่จะส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน หากมีการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนก็จะมีผลกระทบทั้งการแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และกระทบต่อการขอรับเงินอุดหนุนรายหัวของนักเรียนที่จะต้องใช้ฐานข้อมูลนักเรียน ณ วันที่ 10 มิถุนายน เป็นต้น

ในส่วนของอาชีวศึกษา ได้เสนอความเห็นว่าการศึกษาของอาชีวะเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยน้อย และการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิมมีความสอดคล้องกับตลาดแรงงานมากกว่า เพราะตลาดแรงงานมีความต้องการกำลังแรงงานจำนวนมากในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฉะนั้น การสำเร็จการศึกษาในช่วงปลายเดือนมีนาคมก็จะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมากกว่า

ในช่วงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ป.1-ม.5 และอาชีวศึกษามีช่วงเวลาเรียนที่ยาว 11 ปีการศึกษา ส่วนนักเรียนชั้น ม.6 พบว่า หากการศึกษาพื้นฐานเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิม คือ เปิดวันที่ 16 พฤษภาคม และปิดเรียนตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนในปีต่อไป จะทำให้มีช่วงเวลาก่อนมหาวิทยาลัยจะเปิดเทอมยาวขึ้นถึง 4 เดือน ซึ่งช่วงเวลาที่ยาวขึ้นกว่าเดิมเมื่อพิจารณาแล้วก็ไม่เป็นปัญหา แต่เป็นโอกาสดี เช่น ในบางประเทศใช้ช่วงเวลายาวๆ ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับเรียนภาษาเพิ่มเติม เรียนบางวิชาเพื่อเตรียมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ในกรณีของประเทศไทย การที่ช่วงเวลาจบ ม.6 จนถึงก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยยาวขึ้น จะทำให้สามารถจัดระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย หากจะมีการขอความร่วมมือให้มหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยไปสอบเมื่อนักเรียนจบการศึกษาชั้น ม.6 ก็คือ หลังวันที่ 1 เมษายน ก็จะทำให้นักเรียนมีเวลาเตรียมตัวและมหาวิทยาลัยมีเวลาในการจัดการสอบได้ดีขึ้น

ดังนั้น หากการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน จะทำให้นักเรียนชั้น ม.6 มีช่วงเวลาว่างยาวขึ้นก่อนการเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย ซึ่งเลื่อนเปิดภาคเรียนเป็นเดือนสิงหาคม ถึง 4 เดือน เมื่อได้หารือร่วมกันทั้ง ศธ.แล้ว ก็อาจจะใช้เป็นโอกาสในการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่ง สทศ.มีความเห็นว่า การสอบ O-Net ของ สทศ.ควรจะจัดสอบหลังจากนักเรียน ม.6 จบการศึกษาแล้ว และมีความยินดีที่จะขยับช่วงเวลาการสอบของ สทศ.ให้สอดคล้องกับช่วงเวลาปิดเทอมที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้สำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้แทนภาคเอกชน รวมทั้งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 15,696 คน ต่อการเลื่อนหรือไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ได้ผลพบว่า ร้อยละ 54.54 เห็นด้วยกับการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิม (เทอม 1 เปิด 16 พฤษภาคม-11 ตุลาคม และเทอม 2 เปิด 1 พฤศจิกายน-1 เมษายน) ร้อยละ 27.44 เห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย และร้อยละ 18.02 เห็นด้วยกับการเปิดปิดภาคเรียนตามที่เคยมีข้อสรุปไว้ (เทอม 1 เปิด 10 มิถุนายน-4 พฤศจิกายน และเทอม 2 เปิด 26 พฤศจิกายน-26 เมษายน) จากผลสำรวจพบว่า มีผู้เห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดภาคเรียนเป็นวันที่ 10 มิถุนายน น้อยมาก  ในความเป็นจริงแล้วผลการสำรวจความคิดเห็นอาจจะมีความคาดเคลื่อนได้ แต่การสำรวจครั้งนี้ทำให้เห็นความแตกต่างของความเห็นอย่างชัดเจน

รมว.ศธ.กล่าวสรุปว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เปิดปิดภาคเรียนวันที่ 16 พฤษภาคมเช่นเดิม เพราะถึงอย่างไรประเทศอาเซียนก็เปิดปิดไม่พร้อมกัน การปรับเวลาการเปิดปิดภาคเรียนของประเทศไทยจึงไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้สอดคล้องกับกลุ่มประอาเซียน แต่เกิดจากแนวคิดที่ต้องการจะเลื่อนเพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย คือวันที่ 15 สิงหาคม ซึ่งมหาวิทยาลัยเองก็ปรับให้สอดคล้องกับสากลหรือประเทศตะวันตก ฉะนั้นการไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนจึงมีข้อดีกว่า โดย ศธ.คำนึงถึงนักเรียนส่วนใหญ่ (ป.1-ม.5) เป็นสำคัญ และมีความชัดเจนมากว่าการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิมดีกว่า แต่ก็ไม่ทำให้นักเรียนชั้น ม.6 มีข้อเสียแต่อย่างใด กลับกลายทำให้มีเวลาในการพัฒนาปรับปรุงตนเองก่อนการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากขึ้นด้วย

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

tags : เปิดเทอมปี 2557, ปี 57 เปิดเทอม 16 พฤษภาคม เหมือนเดิม


ข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษาข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 870 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 818 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 1,147 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 870 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 326 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 691 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,912 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์
ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์
เปิดอ่าน 13,677 ครั้ง

"ซัคเกอร์"..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย
"ซัคเกอร์"..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย
เปิดอ่าน 38,411 ครั้ง

กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
เปิดอ่าน 15,054 ครั้ง

ประวัติของแคน อัครเครื่องดนตรีอีสาน
ประวัติของแคน อัครเครื่องดนตรีอีสาน
เปิดอ่าน 117,047 ครั้ง

5 วิธีง่ายๆ! ช่วยหยุดทานอาหารด้วยความเครียด
5 วิธีง่ายๆ! ช่วยหยุดทานอาหารด้วยความเครียด
เปิดอ่าน 2,052 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ