ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

พายุไต้ฝุ่น


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 31,171 ครั้ง
พายุไต้ฝุ่น

Advertisement

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4

พายุไต้ฝุ่น โดย นาวาเอกเจริญ เจริญรัชตภาคย์

พายุไต้ฝุ่น เฮอร์ริเคน (hurricane) ไซโคลน (cyclone) บาเกียว (baquio) หรือวิลลี่วิลลี่ (willy willy) เหล่านี้เป็น "พายุไซโคลนในโซนร้อน" หรือ "พายุหมุนในโซนร้อน" (tropical cyclones) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มีชื่อต่างๆ กันตามบริเวณแหล่งที่เกิด พายุชนิดนี้เกิดขึ้นเฉพาะในโซนร้อนของมหาสมุทร หรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ ๒๖°ซ. หรือ ๒๗°ซ. ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง ในซีกโลกเหนือ ทิศของลมรอบศูนย์กลางของพายุเหล่านี้จะพัดจากขวาไปซ้าย ในทิศตรงข้ามกับเข็มนาฬิกา และมีความเร็วของรอบศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๑๗ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป ส่วนในซีกโลกใต้เหล่านี้เกิดขึ้นในเขตร้อนบางส่วนของมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิกและแอตแลนติกเหนือด้วย เว้นแต่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ในซีกโลกใต้ไม่เคยปรากฏว่ามีพายุเฮอร์ริเคนเกิดขึ้นเลย

ลักษณะของพายุไซโคลนในโซนร้อนหรือพายุหมุนในโซนร้อนแบ่งออกได้ตามลำดับต่อไปนี้

- ดีเปรสชั่น (depression) คือพายุไซโคลนในโซนร้อน ซึ่งมีความเร็วลมรอบบริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๖๓ กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง
- พายุโซนร้อน (tropical storm) คือพายุไซโคลนในโซนร้อน ซึ่งมีความเร็วลมรอบศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๔ ถึง ๑๑๗
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- เฮอร์ริเคน (ไต้ฝุ่น ไซโคลน บาเกียว และวิลลี่วิลลี่) คือ พายุไซโคลนในโซนร้อน ซึ่งมีความเร็วลมรอบศูนย์กลาง
มากกกว่า ๑๑๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนของการเกิดพายุไซโคลนในโซนร้อนกับปรากฏการณ์อื่น แล้วจะเห็นได้ว่าในปีหนึ่งๆ มีจำนวน พายุไซโคลนในโซนร้อนเกิดขึ้นน้อยกว่า การเกิดของพายุนี้จำต้องมีลักษณะของอากาศหลายอย่าง ซึ่งเข้าจังหวะกันพอดี นักวิทยาศาสตร์ ได้สังเกตว่าส่วนมากพายุไซโคลนในโซนร้อนเกิดจาก "คลื่นตะวันออก" (easterly waves)คลื่นตะวันออกนี้ คือ บริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งเคลื่อนตัวจากทิศตะวันออกไปทางทิศ ตะวันตกและส่วนมากอยู่ในบริเวณละติจุดต่ำๆ แต่อยู่นอกเขตของบริเวณเส้นศูนย์สูตรเพราะยังไม่เคยปรากฏว่าได้ตรวจพบพายุไซดคลนในโซนร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรเลย




ต่อไปนี้ เราอาจจะอธิบายลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของไต้ฝุ่นได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

๑. พายุไต้ฝุ่น คือพายุโซนร้อน ซึ่งเกิดในมหาสมุทรหรือทะเลในโซนร้อนและมีลมพัดรอบศูนย์กลางอย่างน้อยด้วยความ
เร็ว ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (อาจจะถึง ๓๐๐กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้)
๒. พายุไต้ฝุ่น เป็นบริเวณความกดต่ำ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นร้อยๆ กิโลเมตรจนถึงประมาณ ๑,๖๐๐ กิโลเมตร หรือกว่านั้น และมีอายุอยู่ได้หลายๆ วัน ลมของพายุนี้พัดรอบๆ ศูนย์กลางและลอยตัวขึ้นคล้ายบันไดวน
๓. คุณสมบัติที่สำคัญและน่าสนใจอย่างหนึ่งของพายุนี้ก็คือ ที่บริเวณศูนย์กลางของพายุเราเรียกว่า "ตา" ของไต้ฝุ่น ตาเป็นบริเวณเล็กๆ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ๑๐ ถึง ๕๐ กิโลเมตร ในบริเวณตาของไต้ฝุ่นจะมีอากาศค่อนข้างดี ลมพัดค่อนข้างเบา
๔. พายุไต้ฝุ่น มีพลังงานมากมายมหาศาล ในวันหนึ่งสามารถผลิตพลังงานได้เท่ากับลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาด ๑ ล้านตัน ที เอ็น ที ได้มากว่า ๑๐,๐๐๐ ลูก ไต้ฝุ่นได้รับพลังงานมหึมาจากพลังงานความร้อนแฝง ซึ่งไอน้ำในทะเลกลั่นตัวเป็นน้ำ
๕. ในละติจูดต่ำๆ ไต้ฝุ่นจะเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออก มาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก
๖. เมื่อไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นดิน ภูเขา หรือมวลอากาศเย็น ทำให้พลังงานของไต้ฝุ่นค่อยๆ สลายตัวลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพายุโซนร้อนหรือดีเปรสชั่น
๗. อันตรายจากพายุไต้ฝุ่น มีหลายอย่าง เช่น ฝนตกหนัก ลมแรง พายุฟ้าคะนอง คลื่นจัด และอุทกภัย (ซึ่งมักจะทำให้มีผู้คนเสียชีวิตได้มาก) ฝนอาจจะตกได้กว่า ๑,๘๐๐ มิลลิเมตรในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง พายุโซนร้อนซึ่งพัดเข้าแหลมตะลุมพุกจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ ๑,๐๐๐คน และสูญเสียทรัพย์สมบัติหลายร้อยล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องจากน้ำทะเลท่วม

เมื่อวันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ พายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดียเคลื่อนตัวผ่านบริเวณแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร (Ganges- Brahmaputra) ประเทศบังคลาเทศพายุไซโคลนลูกนี้มีความรุนแรงมาก มีอิทธิพลกระทบกระเทือน ต่อประชาชนกว่า ๓ ล้านคนในเนื้อที่กว่า ๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน ส่วนอันตรายอย่างอื่น เช่น อดตายหรือโรคระบาดนั้นตามมาภายหลังอีกมากมายหลายอย่างฉะนั้นเมื่อพายุไซโคลนในโซนร้อนอยู่ที่ไหน จึงควรจะอยู่ห่างจากที่นั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง จงอย่าอยู่ในที่ลุ่มหรือที่ต่ำเป็นอันขาด

๘.เราสามารถจะกำหนดที่อยู่ของพายุไต้ฝุ่นได้ โดยการวัดความกด ตรวจดู
ลักษณะอากาศ ทิศ และความเร็วลม การหาที่อยู่ของไต้ฝุ่นอาจสำรวจได้จากเครื่องมือหลายอย่าง เช่น
-สถานีตรวจอากาศตามเกาะหรือในทะเล
-เครื่องบินตรวจอากาศ
-เรดาร์
-ดาวเทียมตรวจอากาศ
๙.ในปัจจุบันนี้ โดยที่ระบบโทรคมนาคมของการสื่อสารมวลชนดีขึ้นมาก ประชาชนสามารถจะทราบคำเตือนเรื่องพายุไต้ฝุ่นได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนควรระมัดระวังในเมื่อได้รับคำเตือนเรื่องพายุร้ายแรงและอันตรายจากพายุไต้ฝุ่น เรือในทะเลควรจะหลบหนีออกไปจากบริเวณไต้ฝุ่น เรือในทะเลควรจะหลบหนีออกไปจากบริเวณไต้ฝุ่น


พายุไต้ฝุ่น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การวัดความกดอากาศ

การวัดความกดอากาศ


เปิดอ่าน 23,747 ครั้ง
เมลามีน คืออะไร?

เมลามีน คืออะไร?


เปิดอ่าน 102,526 ครั้ง
มาดามคูรี : เคมี

มาดามคูรี : เคมี


เปิดอ่าน 13,619 ครั้ง
ตารางธาตุ

ตารางธาตุ


เปิดอ่าน 60,349 ครั้ง
ที่สุดของดาราศาสตร์

ที่สุดของดาราศาสตร์


เปิดอ่าน 15,968 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เราจะรู้อายุของโลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆได้อย่างไร

เราจะรู้อายุของโลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆได้อย่างไร

เปิดอ่าน 18,048 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
เปิดอ่าน 32,259 ☕ คลิกอ่านเลย

เกลือในทะเล มาจากไหน?
เกลือในทะเล มาจากไหน?
เปิดอ่าน 28,469 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
เปิดอ่าน 13,742 ☕ คลิกอ่านเลย

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
เปิดอ่าน 128,420 ☕ คลิกอ่านเลย

สรุปสูตรการคำนวณของสารละลาย : เคมี
สรุปสูตรการคำนวณของสารละลาย : เคมี
เปิดอ่าน 206,301 ☕ คลิกอ่านเลย

สสวท. แจกแผนการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีฟรี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 5 อย่ารอช้าจัดให้ครบครัน
สสวท. แจกแผนการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีฟรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 5 อย่ารอช้าจัดให้ครบครัน
เปิดอ่าน 4,155 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ชมคลิป ตำรวจไทยโชว์เต้นบีบอย งานกีฬากองทัพไทย
ชมคลิป ตำรวจไทยโชว์เต้นบีบอย งานกีฬากองทัพไทย
เปิดอ่าน 13,052 ครั้ง

Dragon Baby เจ้าหนูสุดเจ๋ง คลิปอยากให้ลูกน้อยเป็นซุปเปอร์ฮีโร่
Dragon Baby เจ้าหนูสุดเจ๋ง คลิปอยากให้ลูกน้อยเป็นซุปเปอร์ฮีโร่
เปิดอ่าน 11,835 ครั้ง

ชาแบบไหน เหมาะกับคุณ
ชาแบบไหน เหมาะกับคุณ
เปิดอ่าน 9,434 ครั้ง

แนะวิธีสังเกต ธนบัตรปลอม
แนะวิธีสังเกต ธนบัตรปลอม
เปิดอ่าน 10,721 ครั้ง

ตูนส์ศึกษา : กว่าจะถึงประถมศึกษาก็สายเสียแล้ว
ตูนส์ศึกษา : กว่าจะถึงประถมศึกษาก็สายเสียแล้ว
เปิดอ่าน 8,532 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ