ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปรับโครงสร้างเขตพื้นที่การศึกษา...ต้องเพื่อเด็ก


ข่าวการศึกษา เปิดอ่าน : 23,361 ครั้ง
ปรับโครงสร้างเขตพื้นที่การศึกษา...ต้องเพื่อเด็ก

Advertisement

ตามที่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กำหนดรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไปนั้น แต่เมื่อหันกลับมาดูประเทศไทยแล้วยังดูจะขาดความพร้อมในอีกหลายด้าน โดยเฉพาะคุณภาพของบุคลากรที่ดูเหมือนจะไล่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ทัน ทั้งที่หากเทียบด้านศักยภาพและทักษะของคนในชาติกันแล้วประเทศไทยน่าจะมีคุณภาพเหนือกว่า แต่ด้วยวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาเท่าที่ผ่านมายังขาดประสิทธิภาพ หรือดำเนินการไม่ตรงจุดทำให้ศักยภาพความสามารถที่มีอยู่ในตัวเด็กไม่ได้ถูกเค้นนำออกมาพัฒนาส่งเสริมกันอย่างจริงจัง แถมปล่อยให้ปัญหาในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหมักหมมมาอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าได้มีการคิดแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษามาแล้วกว่า 10 ปี และนำมาปรับปฏิรูปรอบ 2 กันใหม่อีกครั้งแล้วก็ตาม แต่คุณภาพการศึกษาก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าที่น่าจะเป็น ซึ่งส่วนนี้คงจะโทษว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมาไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะสิ่งที่กฎหมายการศึกษากำหนดขึ้นทั้งหลักการและวิธีการล้วนเป็นแนวทางที่ดีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างที่ให้มีการยุบรวมหน่วยงานส่วนกลางที่มีมากถึง 14 กรม ให้เหลือเพียงแค่ 5 แท่ง เพื่อให้หน่วยงานส่วนกลางเกิดเอกภาพมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านการนโยบาย สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผล ไม่ใช่เป็นผู้คิด สั่งการ รวมถึงปฏิบัติเองอย่างที่ผ่านมา หน่วยงานส่วนกลางจึงต้องมีขนาดเล็กลง โดยจะไปให้ความสำคัญกับระดับภูมิภาคที่เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่จะต้องมีขนาดใหญ่ อำนาจต้องเทียบเท่ากรม ส่วนโรงเรียนก็ต้องเป็นนิติบุคคล เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการบริหาร จัดการให้เป็นไปตามบริบทและความต้องการของท้องถิ่น

แต่พอดำเนินการเข้าจริงหน่วยงานส่วนกลางกลับไม่ยอมผ่องถ่ายอำนาจ แถมยังเพิ่มขนาดทั้งหน่วยงานและปริมาณงานมากขึ้น จึงทำให้เขตพื้นที่การศึกษาทำได้แค่ปฏิบัติตามหน่วยเหนือ ทำงานธุรการเป็นไปรษณีย์เชื่อมต่อ ระหว่างหน่วยเหนือกับโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ผลลัพธ์จากการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมาจึงได้แค่โครงสร้างที่ทำให้ผู้บริหารจำนวนหนึ่งได้ตำแหน่งและซีที่สูงขึ้น แต่สำหรับคุณภาพการศึกษาของเด็กแล้วกลับไม่กระเตื้องขึ้นแต่อย่างใด ส่วนนี้จึงน่าจะเป็นคำตอบได้อย่างชัดเจนแล้วว่า โครงสร้างของหน่วยงานไม่ว่าจะมีจำนวนมาก น้อยหรือขนาดใหญ่ เล็กก็ตาม หากไม่ปฏิบัติตามหลักการ วิธีการที่กำหนดไว้ คุณภาพการศึกษาก็คงไม่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพเด็ก ที่มีอยู่มากมายก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครูขาดแคลน ที่ทุกฝ่ายบอกว่ารับรู้แล้วว่าปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากโรงเรียนขาดครูที่ไม่พอสอนครบทุกวิชา หรือไม่พอสอนครบชั้น แต่มาจนถึงบัดนี้ โรงเรียนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กก็ยังขาดแคลนครูอยู่อย่างมากมายเช่นเดิม

ปํญหาด้านคุณภาพของครูและผู้บริหาร ที่ปัจจุบันนี้คงต้องยอมรับความจริงกันว่ายังมีครูและผู้บริหารสถานศึกษาจำนวนไม่น้อยขาดคุณภาพ ยังไม่เป็นครูหรือผู้บริหารมืออาชีพด้วยด้อยทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจในวิทยาการใหม่ ๆ
ขาดความเข้าใจและไม่ให้ความสำคัญหลักสูตรสถานศึกษากับการนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อให้บรรลุผลตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างจริงจัง ผู้บริหารขาดประสิทธิภาพ การบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนา ครูยังไม่ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้ทันยุคทันเหตุการณ์ รวมถึง การขาดซึ่งอุดมการณ์และจรรยาบรรณในวิชาชีพครู ทำให้ความมุ่งมั่นทุ่มเทกับการแก้ปัญหาและพัฒนาเกิดขึ้นไม่เต็มที่ เต็มเวลา เต็มความสามารถที่มีอยู่อย่างแท้จริง

ปัญหาด้านนโยบายการจัดการศึกษาที่ขาดประสิทธิภาพ โดยส่วนใหญ่เป็นนโยบายรายบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไม่สอดคล้องกับแผนการศึกษาชาติ และแผนพัฒนาด้านอื่น ๆ ของประเทศ เมื่อนโยบายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาการดำเนินงานของภาคปฏิบัติจึงทำขึ้นเพื่อให้มีไว้ตรวจสอบและรายงานผลให้หน่วยเหนือทราบมากกว่าที่จะนำไปพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง

ปัญหาต่อมาก็คงเป็นงานที่ทำเพื่อสนองภารกิจของหน่วยงานที่เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)ที่ได้มีการวัดประเมินผลกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการวัดและประเมินผลที่ว่านี้ก็ใช้หลักเกณฑ์และเนื้อหาเป็นไม้บรรทัดเดียวกันทั้งประเทศ โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบท ความต้องการของผู้เรียน ของท้องถิ่น หรือความพร้อมในการจัดการศึกษาในแต่ละพื้นที่ และเมื่อได้ผลพบอุปสรรคปัญหาใดแล้วก็ไม่ได้ช่วยเหลือแก้ไข เมื่อปัญหาเก่ายังไม่ได้รับการแก้ไข การประเมินและวัดผลครั้งใหม่ก็ยังดำเนินการต่อไปอีก ปัญหาซ้ำ ๆ จึงเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรกลับมาให้วิพากษ์วิจารณ์กันเช่นเดิมอีก ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาแล้วยังเป็นการเพิ่มงานเอกสารและธุรการให้กับครูอีกจำนวนมาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนลดลง รวมถึงพลอยทำให้ครูจำนวนหนึ่งหลงทางกับการพัฒนาเด็กเพราะแทนที่จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กตามศักยภาพที่มีอยู่กลับไปมุ่งเป้าพัฒนาสนองกับวิธีการประเมินและวัดผลด้วยวิธีการที่กล่าวมา

ซึ่งปัญหาการจัดการศึกษาของไทยยังมีประเด็นยิบย่อยอีกไม่น้อยที่เข้ามารบกวนเวลาการสอนของครู อย่างกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดและนอกสังกัดกำหนดโครงการ กิจกรรม ส่งไปให้โรงเรียนดำเนินการ โดยลืมนึกถึงความเป็นจริงว่าครูมีหน้าที่สอนเด็กไม่ใช่เป็นบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องมารองรับงานที่เจ้าหน้าที่ส่วนกลางคิดให้ปฏิบัติ แถมที่หนักสุดก็คือ ต้องรายงานให้ทราบอย่างเร่งด่วนอย่างที่เห็นกันอยู่ ดังนั้นหากหวังต้องการพัฒนาเด็กให้เกิดคุณภาพเต็มตามศักยภาพและมีความพร้อมที่จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีศักดิ์ศรีแล้วก็ขอให้ครูได้ทำหน้าที่สอน ศึกษานิเทศก์ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ร่วมกับครูพากันทำ ผู้บริหารสถานศึกษาได้บริหารจัดการเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งแก้ปัญหาที่ได้นำเสนอในเบื้องต้นให้ได้ก็เชื่อว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กดีขึ้นมากกว่าที่จะไปคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไข อยู่กับโครงสร้างเพียงอย่างเดียว

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จากที่มีอยู่ 42 แห่งให้ครบทุกจังหวัดกันอีกก็ขอให้ทำเพื่อคุณภาพการศึกษาของเด็กอย่างแท้จริงไม่ใช่มีผลประโยชน์อื่นเกี่ยวกับอำนาจ ตำแหน่งและซี แอบแฝงอยู่ อย่างที่ผ่านมา และที่สำคัญในการคิดปรับโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ก็ควรคิดอย่างเป็นระบบเพราะหากคิดเพิ่มแต่ สพม. อย่างเดียว คิดว่าปัญหาคงไม่จบ เพราะแค่แนวคิดนี้ออกมาก็มีฝ่ายประถมศึกษาบางส่วนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยแล้ว เพราะเกรงว่าอำนาจในส่วนที่เป็นคณะกรรมการต่าง ๆ จะต้องถูกยกเลิกไป ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ยังไม่ได้นึกห่วงเด็กอยู่ดี หรือไม่อีกหน่อยก็คงออกมาเรียกร้องให้เกิดหน่วยงานต้นสังกัดแยกออกเป็น

กรมประถมและกรมมัธยมกันอีก ด้วยบริบทของการพัฒนาเด็กในแต่ละระดับไม่เหมือนกัน ซึ่งแนวคิดการแยกประถมและมัธยมใน สพฐ. ปัจจุบันก็เริ่มมีให้เห็นกันแล้วที่มีการตั้งสำนักมัธยมและสำนักประถมศึกษาเกิดขึ้นเมื่อต้องมีการปรับในระดับเขตพื้นที่การศึกษาก็น่าจะถือโอกาสปรับโครงสร้างในส่วนกลางไปในคราวเดียวกันเลย โดยให้มีสำนักงานที่เทียบเท่ากรมเกิดขึ้นใน สพฐ. สัก 3 สำนัก คือ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการมัธยมศึกษาและสำนักบริหารงานวิชาการเช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา ที่มีหน่วยงานทั้ง กศน. สช. และ ก.ค.ศ. เทียบเท่ากรมอยู่ในสังกัด เพื่อให้การบริหารจัดการสอดคล้องกับการพัฒนาเด็กในแต่ละระดับมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อคิดถอยหลังลงคลองกันแล้วก็น่าจะทำกันตั้งแต่วันนี้ดีกว่าปล่อยให้เสียเวลาไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยมาคิดทำกันในภายหลัง หากคิดจะทำแล้วก็อย่ามัวเขินอายว่าจะต้องหันกลับไปใช้ของเก่า เมื่อรู้ว่าเดินหน้าไปแล้วผิดพลาดสู้ยอมถอยหลังมาตั้งหลักใหม่คงไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่ถ้าเดินหน้าไปแล้วเกิดความผิดพลาดผู้ที่ได้ประโยชน์กลับเป็นผู้ใหญ่แต่เด็กไม่ได้รับประโยชน์อย่างนี้สิน่าอายกว่า.

กลิ่น สระทองเนียม

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2554


ปรับโครงสร้างเขตพื้นที่การศึกษา...ต้องเพื่อเด็ก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

เปิดอ่าน 18,645 ☕ 30 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 611 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 930 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 750 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 303 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 629 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,858 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
เปิดอ่าน 15,366 ครั้ง

เอกสารแนบคำขอในระบบ DPA
เอกสารแนบคำขอในระบบ DPA
เปิดอ่าน 14,191 ครั้ง

สร้างรั้วบ้านตามหลักฮวงจุ้ย
สร้างรั้วบ้านตามหลักฮวงจุ้ย
เปิดอ่าน 26,140 ครั้ง

คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู
คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู
เปิดอ่าน 88,002 ครั้ง

UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียน "สงกรานต์ไทย" เป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียน "สงกรานต์ไทย" เป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
เปิดอ่าน 754 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ