ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"โมสาร์ท เอฟเฟกต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 28,414 ครั้ง
"โมสาร์ท เอฟเฟกต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย

Advertisement

เมื่อสัปดาห์ก่อน อาจารย์ได้รับโทรศัพท์จากคุณแม่มือใหม่ถามว่า ถ้าให้ลูกฟังเพลงโมสาร์ทตั้งแต่อยู่ในท้อง จะทำให้ลูกเกิดมามีไอคิว และอีคิวที่ดีจริงหรือไม่ และจำเป็นหรือไม่ที่ควรฟัง

หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพ สัปดาห์นี้จะขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับโมสาร์ท เอฟเฟกต์ว่า ต้นตอของความคิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จริง ๆ แล้วจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1993 เมื่อ เราเชอร์ และ ชอว์ ไค ได้ทำการวิจัยโดยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยฟังเพลงโมสาร์ทโซนาต้า เป็นเวลา 10 นาที แล้วทำแบบทดสอบเพื่อหาค่าเหตุผล ปรากฏว่า นักศึกษาทำแบบทดสอบได้คะแนนดีมาก ซึ่งได้มีการทำการวิจัยซ้ำ โดยใช้วิธีการเดิม ใช้แบบทดสอบเดิม เพียงแต่เปลี่ยนให้ไปทดสอบในส่วนที่เป็นการวิเคราะห์แทน ซึ่งก็ได้ผลอย่างเดียวกัน

ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพการเรียนรู้หลังจากได้ฟังเพลงโมสาร์ทยังเป็นที่น่าสงสัย อีกทั้งระยะเวลาในการฟังก็ใช้เพียง10 นาที แต่เพราะผลการวิจัยทำให้เกิดกระแสการฟังเพลงโมสาร์ทโซนาต้าโด่งดังไปทั่ว จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง มีการนำผลการวิจัยไปเชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ของการพัฒนาทางสมองของเด็ก โดยเชื่อว่า ถ้าได้ฟังเพลงโมสาร์ทตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา ลูกที่เกิดมาจะมีพัฒนาการทางสมองดีกว่าเด็กคนอื่น ๆ จนกระทั่งผู้ว่าการรัฐจอร์เจียของสหรัฐอเมริกาถึงกับผลิตแผ่นซีดีออกมาแจกคุณแม่ที่เพิ่งตั้งท้องใหม่ ๆ และผู้ประกอบการหัวใสก็ผลิตแผ่นซีดีที่บรรจุเพลงโมสาร์ทออกวางตามท้องตลาดอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

หลายปีถัดมา นักวิจัยได้มีการทำวิจัยซ้ำเกี่ยวกับโมสาร์ท เอฟเฟกต์ กับการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งได้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม หลายๆ งานวิจัยแสดงความล้มเหลวของงานวิจัยดั้งเดิม ว่าผลที่ได้ในตอนแรกไม่สามารถเชื่อมโยงได้จริง เด็กที่ฟังโมสาร์ท ไม่ได้มีพัฒนาการทางสมองที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป ในปี ค.ศ. 1998 เราเชอร์ และ ชอว์ ได้ออกมาพูดถึงความล้มเหลวถึงผลการวิจัยซ้ำว่า งานวิจัยนั้นต้องทำภายใต้เงื่อนไขที่เป็นรายละเอียดอย่างชัดเจนเท่านั้น ซึ่งในปี ค.ศ. 1999 สตีลเล่ ได้ทำการวิจัยซ้ำภายใต้เงื่อนไขที่ เราเชอร์ และ ชอว์ กำหนด แต่ผลที่ได้ก็ยังคงล้มเหลวเช่นเดิม

จะเห็นได้ว่า ผลงานวิจัยที่ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วยังแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลว พร้อมกับข้อกังขาในประสิทธิภาพของเพลงโมสาร์ทที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ก็ยังไม่สามารถหักล้างความคิด (และการประโคมโฆษณาจากสื่อต่าง ๆ) ที่ชักชวนให้คุณพ่อคุณแม่ไปซื้อมาฟังเล่น ๆ ด้วยความหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่า จะช่วยพัฒนาลูกในครรภ์ได้ตั้งแต่ก่อนคลอด และถึงแม้เราจะมองได้ว่า โมสาร์ท เอฟเฟกต์ ที่เคยได้ผลครั้งแรกนั้น จริง ๆ แล้วก็เป็นแค่ความบังเอิญ ความจริงก็คือ เราไม่อาจทราบได้ว่างานวิจัยดั้งเดิมนั้นอาจจะไม่ได้แสดงเงื่อนไขที่สำคัญบางอย่างที่จำเป็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์นั้นก็เป็นไปได้ หรือไม่ก็จริง ๆ แล้วงานวิจัยดั้งเดิมนั้นไม่ได้มีความต้องการจะเชื่อมโยงผลกับการพัฒนาสมรรถภาพทางสมองของเด็กตั้งแต่แรกก็เป็นไปได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามที่ตามมาคือ แม้เสียงดนตรีอาจจะไม่สามารถพัฒนาสมองได้อย่างที่คาด แต่น่ามีผลอะไรกับเด็กทารกบ้างหรือไม่ เพราะจะเห็นได้ว่ามีเด็กจำนวนมาก สามารถโยกย้ายส่ายตัวตามทำนองและจังหวะของดนตรี หรือแม้กระทั่งพบว่า เด็กทารกเมื่อได้ยินเสียงเพลงก็มีอาการที่คุณแม่ส่วนใหญ่เรียกว่า “อารมณ์ดี”

จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก เพราะผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยบราวน์ กล่าวว่า เด็กทารกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถแยกระดับเสียง ทำนอง หรือแม้กระทั่งความไพเราะของบทเพลงได้ เด็กบางคนถึงขนาดร้องไห้เมื่อได้ฟังเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีการส่งศพด้วยซ้ำ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ การที่นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้กล่าวในงานวิจัยว่า การที่เด็กเล่นดนตรี คือเล่นเป็นเพลง ไม่ใช่แค่ฟังเพลง จะทำให้เซลล์สมองมีการเคลื่อนไหว โดยทีมนักวิจัยได้ทดสอบเด็กอายุ 3-5 ขวบที่มีการเรียนเปียโนมาอย่างน้อย 6 เดือน เปรียบเทียบกับเด็กที่เรียนร้องเพลง เรียนคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งไม่ได้เรียนอะไรเลย ได้ผลว่า เด็กกลุ่มแรกมีความสามารถในด้านตรรกะเชิงสัญลักษณ์ (ที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิศวกรรมและคณิตศาสตร์)มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งผลงานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้กับเด็กโต ซึ่งเมื่องานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ก็พบว่า ที่รัฐแคลิฟอร์เนียมีการส่งเสริมการเรียนเปียโนอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ให้กับเด็กชั้นประถม 2 ที่มีภาวะเสี่ยงและมีฐานะยากจน ปรากฏว่าเด็กเหล่านี้สามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถม 4 ได้ดีกว่าเด็กประถม 4 อีกเป็นเท่าตัว

ดังนั้น นักวิจัยอาจต้องทำการวิจัยเรื่อง โมสาร์ท เอฟเฟกต์ นี้อีกหลายต่อหลายครั้ง จนกว่าจะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า โมสาร์ทมีส่วนช่วยในพัฒนาการทางสมองได้จริงหรือไม่ และจำเป็นหรือไม่สำหรับคุณแม่ แต่ตอนนี้ คุณแม่หลายท่านคงคิดว่า ฟังไปก็คงไม่เสียหายอะไร ใช่ไหมคะ?

อ.ดร.ปรียาสิริ มานะสันต์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมาย

 

ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


"โมสาร์ท เอฟเฟกต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ทำไมเราถึงหาว รู้ไหม?

ทำไมเราถึงหาว รู้ไหม?


เปิดอ่าน 10,290 ครั้ง
ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ

ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ


เปิดอ่าน 11,857 ครั้ง
สมุนไพรช่วยลดความดัน

สมุนไพรช่วยลดความดัน


เปิดอ่าน 11,685 ครั้ง
กินรสจืด ยืดชีวิต

กินรสจืด ยืดชีวิต


เปิดอ่าน 20,397 ครั้ง
วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน

วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน


เปิดอ่าน 27,275 ครั้ง
น้ำอาร์ซี

น้ำอาร์ซี


เปิดอ่าน 19,806 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สมุนไพรฤทธิ์เย็น ตัวช่วยดูแลผิว ประหยัด..ช่วงปลายฝนต้นหนาว

สมุนไพรฤทธิ์เย็น ตัวช่วยดูแลผิว ประหยัด..ช่วงปลายฝนต้นหนาว

เปิดอ่าน 14,264 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เปิดเทอมทั้งที "ของดี ๆ" ในกระเป๋าหายหมด
เปิดเทอมทั้งที "ของดี ๆ" ในกระเป๋าหายหมด
เปิดอ่าน 12,175 ☕ คลิกอ่านเลย

 8 ข่าวสุขภาพที่ไม่ควรลืมประจำปี 2010
8 ข่าวสุขภาพที่ไม่ควรลืมประจำปี 2010
เปิดอ่าน 13,819 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีกำจัดแมลงเม่า
วิธีกำจัดแมลงเม่า
เปิดอ่าน 4,015 ☕ คลิกอ่านเลย

ต้านเหงือกติดเชื้อด้วยการกินโฮลวีท
ต้านเหงือกติดเชื้อด้วยการกินโฮลวีท
เปิดอ่าน 9,271 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับเร่ง "ผม" ให้ยาวเร็วขึ้น
เคล็ดลับเร่ง "ผม" ให้ยาวเร็วขึ้น
เปิดอ่าน 16,469 ☕ คลิกอ่านเลย

6 วิธี กินซูชิให้อร่อย
6 วิธี กินซูชิให้อร่อย
เปิดอ่าน 11,692 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ชมหรือยัง เพลงหาเสียงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.
ชมหรือยัง เพลงหาเสียงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.
เปิดอ่าน 9,118 ครั้ง

คำวิจารณ์การศึกษาไทย โดยพระราชญาณกวี โซเชียลแชร์ที่อ่านแล้วต้องคิดตาม
คำวิจารณ์การศึกษาไทย โดยพระราชญาณกวี โซเชียลแชร์ที่อ่านแล้วต้องคิดตาม
เปิดอ่าน 14,859 ครั้ง

แบ่งเกรดมหาลัย ความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่
แบ่งเกรดมหาลัย ความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่
เปิดอ่าน 16,278 ครั้ง

ภัยร้ายความเค็มสะสมจากพริกน้ำปลา
ภัยร้ายความเค็มสะสมจากพริกน้ำปลา
เปิดอ่าน 17,331 ครั้ง

16 กันยายน วันโอโซนโลก
16 กันยายน วันโอโซนโลก
เปิดอ่าน 14,229 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ