ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 10,643 ครั้ง
รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ

Advertisement

รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ มจธ.คว้ารางวัล 2 ปีซ้อน

การศึกษาวันนี้

คัคนานต์ ดลประสิทธิ์




ปัจจุบันนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ขับรถขณะอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอนตาพร่ามัว หรือมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้น สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงได้สร้างรถอัจฉริยะที่สามารถวิ่งบนถนนได้เองโดยมีระบบการตัดสินใจที่แม่นยำ เพื่อลดปัญหาและการสูญเสียที่เกิดจากอันตรายดังกล่าว

การนำความรู้จากห้องเรียนมาสู่การปฏิบัติของนักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะความรู้ด้านวิศวกรรมที่มีการจัดการเรียนการสอนแยกเป็นสาขาต่างๆ ขณะที่การสร้างผลงานสักชิ้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยความรู้จากสาขาต่างๆ มาประกอบกัน

ทีม Dark Horse หรือ ม้ามืด ประกอบด้วย นักศึกษาของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม และนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ. โดยมีอาจารย์ถวิดา มณีวรรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

โดยน.ศ.ทีมนี้ได้แสดงผลงานการประสานความรู้ และการปฏิบัติรวมถึงการทำงานร่วมกันของนักศึกษา มาสร้างผลงานรถอัจฉริยะ จนรับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ในการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) ปีที่ 2

ซึ่งสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยการสนับสนุนจากบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดขึ้น ซึ่งทีมม้ามืดได้คว้ารางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมมาครองเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน นอกจากนี้ ยังได้ทำระยะทางรวมเป็นลำดับที่ 3 (1,277 เมตร) อีกด้วย

สำหรับการแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ รอบคัดเลือกจากรายงานการออกแบบ โดยพิจารณาจากรายละเอียดในรายงานการออกแบบรถอัจฉริยะ

ส่วนรอบคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดด้วยความเร็วสูงสุดและวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุด 8 ทีม ที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 50,000 บาท

ในรอบชิงชนะเลิศ รถไร้คนขับจะต้องรู้ถึงสิ่งกีดขวางทั้งหมด รถไร้คนขับจะต้องวางแผนใหม่ เพื่อใช้เส้นทางอื่นหลีกเลี่ยงสิ่งที่กีดขวางที่ติดตั้งแบบบังคับและอย่างสุ่มหลีกเลี่ยงกีดขวาง ระหว่างทางในขณะที่ปฏิบัติภารกิจที่สลับซับซ้อนหลายบทบาทได้อย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การตัดสินทีมชนะเลิศจะพิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุด เร็วที่สุด ทีมที่ชนะเลิศในการแข่งขันจะได้รับเงินรางวัล 300,000 บาท ทีมรองชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท รวมทั้งรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย



ร.ท.ประสพชัย ศิลาอ่อน หรือพี่เบิ้ม อายุ 34 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หัวหน้าทีม กล่าวว่า ภายในทีมแต่ละคนก็มีงานในส่วนตัวเองรับผิดชอบและสัมพันธ์กับงานวิจัยที่ทำอยู่ด้วย ทั้งหมดเราทำงานภายใต้ขอบเขตขีดจำกัดของเวลาการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุด

1.ถวิดา มณีวรรณ์

2.ประสพชัย ศิลาอ่อน

3.รับขวัญ จิตต์ภักดี

4.อมรศรี กิจวงศ์วัฒนะ



ทั้งนี้ ภายในทีมแบ่งระบบงานออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ระบบเครื่องกล และระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งที่ภายในทีมให้ความสำคัญคืออุปกรณ์หรือเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ภายในประเทศและราคาไม่สูงมากนัก นำมาพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ประโยชน์สูงสุด

หัวหน้าทีม "Dark Horse" กล่าวถึงการก้าวเข้ามาร่วมทีมว่า เนื่องจากได้รับทุนการศึกษาจากทางกระทรวงกลาโหม (สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม) รวมทั้งอยากเข้ามาเรียนในสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามอยู่แล้ว ในช่วงรับราชการมีผู้ใหญ่ให้แนวความคิดที่จะทำรถลาดตระเวนแบบไร้คนขับ ตรงนี้เองจึงได้เข้าร่วมทีม

"การทำกิจกรรมรถอัจฉริยะ ผมมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ซึ่งเป็นระบบการควบคุมในส่วนล่าง รวมทั้งสนับสนุนประสานงานในส่วนอื่นๆ ของทีมอีกด้วย และสิ่งที่มากกว่ารางวัลการแข็งขัน คือการนำความรู้มาพัฒนาเป็นผลงาน การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือ การให้กำลังใจ โดยเฉพาะฟีโบ้นั้นเป็นแหล่งทรัพยากรความรู้เป็นอย่างดี สิ่งที่หวังลึกของผม อยากให้มีรถลาดตระเวนที่ใช้งานภายในกองทัพด้วย" ร.ท.ประสพชัย กล่าว

น.ส.รับขวัญ จิตต์ภักดี หรือ มด อายุ 26 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กล่าวถึงการพัฒนาตัวรถในปีแรก ว่า ในปีแรกนั้นจะใช้รถ Go-Cart มาดัดแปลง โดยใช้มอเตอร์กระแสตรงเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีเซ็นเซอร์หลัก ได้แก่ GPS เพื่อระบุตำแหน่งของรถ Potentiometer ใช้วัดองศาในการหมุนของพวงมาลัย แต่ในปีนี้ได้เปลี่ยนรถให้มีความใกล้เคียงกับรถทั่วไปที่ใช้บนท้องถนน คือใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ของมอเตอร์ไซค์เกียร์อัตโนมัติและเพิ่มเซ็นเซอร์ชนิดอื่นๆ เข้ามา อาทิ กล้อง 2 ตัว ซึ่งเปรียบเสมือนดวงตาให้กับรถ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นปัญหาทางเทคนิค เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในรถ ไม่ได้ประสิทธิภาพที่ต้องการ ซึ่งการแก้ไขปัญหาจะนำข้อเสียของอุปกรณ์มารวมกัน แล้วค่อยๆ ปรับแก้ไขทีละจุด นอกจากนี้ ยังมีสภาพอากาศที่ยังเป็นปัญหาอีกด้วย

"การก้าวเข้ามาร่วมทีม "Dark Horse" เนื่องจากมีความสนใจเทคนิคหุ่นยนต์ แต่จริงๆ แล้วยังไม่มีความรู้ด้านการผลิตหุ่นยนต์ ในขณะนั้นอาจารย์ถวิดาได้ชักชวน ก็เลยได้เข้ามาอยู่ในทีม ซึ่งมีหน้าที่ดูแลระบบเซ็นเซอร์ทั้งหมด สำหรับคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่น จนได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม มีหลายจุด อาทิ การเลือกใช้เซ็นเซอร์ที่ราคาถูก แต่นำมาดัดแปลงให้การใช้งานมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเซ็นเซอร์ที่มีราคาแพงได้" น.ส.รับขวัญ กล่าว



น.ส.อมรศรี กิจวงศ์วัฒนะ หรือ แอน อายุ 25 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กล่าวว่า มีหน้าที่ดูแลเรื่องระบบคอนโทรลรถทั้งหมด ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นและแรงจูงใจส่วนตัวที่สนใจเกี่ยวกับงานด้านหุ่นยนต์อยู่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและต้องใช้ศาสตร์จากหลายๆ ด้านและเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมนุษย์มากยิ่งขึ้น เมื่อเปิดรับสมัครสมาชิกทีมมาร่วมทำงานวิจัยรถอัจฉริยะ จึงได้สมัครเข้ามาร่วมทีม เพราะเห็นว่าเป็นงานวิจัยทางหุ่นยนต์ที่ท้าทาย เนื่องจากเป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ ต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้จากหลายสาขามาผนวกกัน อีกทั้งเป็นงานที่เน้นนำมาใช้งานจริง ในสภาพแวดล้อมจริง ไม่ได้ทำเพื่อทดลองในห้องวิจัยแล้วจบไป สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้

"แม้ทีมเราจะไม่ได้รางวัลชนะเลิศ แต่ทีมเราได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม 2 ปีติดกัน แสดงให้เห็นว่าถึงแม้เราไม่ได้ชนะในแง่ของผลการแข่งขัน แต่ระบบการทำงานของรถทีมเราที่ได้ออกแบบและสร้างมานั้น มีคุณค่าและโดดเด่นในแง่ของความสามารถในการคิดหาวิธีการ ซึ่งนำมาใช้ตอบโจทย์ของการแข่งขันได้ดี จึงเป็นสิ่งที่ทางทีมเรามีความภาคภูมิใจในรางวัลที่ได้รับอย่างมาก" น.ส.อมรศรี กล่าว

ด้านอาจารย์ถวิดา มณีวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวว่า สอนวิชาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ซึ่งการสอนนั้นจะมีประสิทธิภาพต้องสอนวิธีปฏิบัติด้วย เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานกันเป็นทีม โดยนำความรู้ที่ได้จากการเรียนทฤษฎีมาลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งการผลิตรถอัจฉริยะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งวิทยานิพนธ์ของทุกคนจะเกี่ยวข้องกับการผลิตรถอัจฉริยะทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตรถอัจฉริยะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้ เช่น นำไปเป็นหน่วยลาดตระเวนทางภาคใต้ เป็นต้น

สังคมอาจจะมองว่าการผลิตรถอัจฉริยะของนักศึกษาไม่ได้ประโยชน์ การแข่งขันผลิตรถอัจฉริยะในต่างประเทศก็มีเหมือนกัน ซึ่งต่างประเทศจะใช้งบประมาณในการผลิตเป็นจำนวนมาก แต่ของประเทศไทยสามารถใช้งบประมาณที่ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับต่างประเทศ มันเป็นสิ่งที่นักศึกษาไทยทำได้

"สิ่งที่ได้จากการผลิตรถอัจฉริยะขึ้นมานั้น ไม่ได้เฉพาะรถเท่านั้น แต่นักศึกษาได้มีความรู้ ทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้ถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกัน ก็เป็นการพัฒนาศักยภาพของตัวนักศึกษาให้เกิดขึ้น ในวงการการศึกษาของประเทศไทย ที่ไม่ใช่เรียนแต่ในห้องเรียนอย่างเดียว "อาจารย์ถวิดากล่าว

Dark Horse จึงเป็นรถที่พัฒนาจากห้องเรียนมาสู่สนามแข่ง



ข้อมูลทางเทคนิค DARK HORSE

เครื่องยนต์นั้นถูกดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์ ระบบเกียร์อัตโนมัติ ขับเคลื่อนล้อหลัง มีขนาด 110 CC กำลัง 8 แรงม้า

ส่วนระบบเซ็นเซอร์ที่ใช้มี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1.Encoder ได้แก่ Rear wheel encoder ติดอยู่ที่เพลาของล้อหลัง เพื่อวัดระยะทางและความเร็วของรถ และ Steering encoder เพื่อใช้วัดมุมการหมุมของพวงมาลัย

2. Ultrasonic ใช้ทั้งหมด 4 ตัว ซึ่งจะติดตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้าของรถ เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง

3. GPS 4 ตัว เพื่อระบุตำแหน่งที่อยู่ของรถว่าอยู่ ณ ตำแหน่งใด บนพื้นโลก

4. กล้อง 2 ตัว ติดตั้งบริเวณด้านหน้าของรถ เพื่อรักษาตำแหน่งให้รถเคลื่อนที่โดยไม่ตกถนนและตรวจจับเครื่องหมายจราจร

สำหรับอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ในรถประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ Acceleration controller ใช้ micro controller ปรับตำแหน่งของ servo motor เพื่อควบคุมการเปิดปิดวาล์วจ่ายน้ำมันให้กับเครื่องยนต์ เป็นผลทำให้เกิดการเร่งหรือผ่อนของรถ Steering controller ใช้ micro controller ปรับตำแหน่งของ DC motor ที่ใช้หมุนพวงมาลัย Central control processing ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวประมวลผลส่วนกลาง เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของ acceleration controller และ steering controller และรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ทุกชนิด เพื่อนำมาวิเคราะห์และควบคุมให้รถวิ่งบนถนนได้อย่างถูกต้อง

เทคนิคการหยุดรถกรณีฉุกเฉินนั้นมีระบบเบรกฉุกเฉินทั้งที่ติดตั้งอยู่บนตัวรถและเป็นระบบไร้สาย เพื่อให้คนที่อยู่นอกรถสั่งการให้รถหยุดสำหรับระบบที่ติดตั้งอยู่บนตัวรถนั้น ได้ติดสวิตช์ Emergency stop ที่ power switch ของรถ สำหรับตัดต่อการจ่ายไฟในส่วนควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ ส่วนระบบ Emergency stop ไร้สายนั้น ใช้การควบคุมผ่านคลื่นวิทยุ เพื่อตัดต่อวงจรที่ power switch ของรถเช่นกัน

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000 บาท ประกอบด้วย เครื่องยนต์ บอร์ดวงจร drive มอเตอร์ เซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ Encoder กล้อง และอื่นๆ

ส่วนกลยุทธ์การแข่งขันนั้น จะใช้เซ็นเซอร์ทั้งหมดทำหน้าที่เป็นตัวเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เพื่อควบคุมให้รถสามารถวิ่งอยู่บนถนนได้โดยไม่ออกนอกเส้นทาง และใช้กล้องเป็นตัวตรวจจับสิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร และป้ายจราจร


ข่าวสดรายวัน 11 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6496


รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ

ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ


เปิดอ่าน 11,858 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สัญญาณ WiFi มีอันตรายต่อสมองหรือไม่

สัญญาณ WiFi มีอันตรายต่อสมองหรือไม่

เปิดอ่าน 18,602 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ
เปิดอ่าน 10,971 ☕ คลิกอ่านเลย

นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"
นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"
เปิดอ่าน 16,331 ☕ คลิกอ่านเลย

5 เทคนิคการจำแบบฉบับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
5 เทคนิคการจำแบบฉบับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
เปิดอ่าน 20,560 ☕ คลิกอ่านเลย

ผมสวยด้วยผักสวนครัว
ผมสวยด้วยผักสวนครัว
เปิดอ่าน 20,029 ☕ คลิกอ่านเลย

องค์ประกอบ ของความสำเร็จ
องค์ประกอบ ของความสำเร็จ
เปิดอ่าน 12,593 ☕ คลิกอ่านเลย

 ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสด และ หอมหัวใหญ่ จริงหรือ ?
ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสด และ หอมหัวใหญ่ จริงหรือ ?
เปิดอ่าน 3,284 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

4 ทักษะสมองแห่งอนาคตที่ลูกต้องมี
4 ทักษะสมองแห่งอนาคตที่ลูกต้องมี
เปิดอ่าน 30,837 ครั้ง

คลิปข่าว สพฐ. พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนดํารงตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา 2564
คลิปข่าว สพฐ. พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนดํารงตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา 2564
เปิดอ่าน 16,616 ครั้ง

วิธีบริหารเงิน ที่ไม่มีสอนในโรงเรียน
วิธีบริหารเงิน ที่ไม่มีสอนในโรงเรียน
เปิดอ่าน 13,910 ครั้ง

วิธีดูแลต้นไม้ในหน้าร้อน
วิธีดูแลต้นไม้ในหน้าร้อน
เปิดอ่าน 9,844 ครั้ง

5 สิ่งไม่ควรทำหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
5 สิ่งไม่ควรทำหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
เปิดอ่าน 20,501 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ