ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี


บทความเทคโนโลยีการศึกษา เปิดอ่าน : 28,259 ครั้ง
การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Advertisement

การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ *
ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข **
บทความตีพิมพ์ในวารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 56 ตุลาคม-ธันวาคม 2548
 

 

 
การก่อเกิดนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ทางด้านการศึกษา มักมีปัญหาในเรื่องของความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ และความไม่แน่ใจในเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นว่าจะเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เพื่อจัดการศึกษา การเรียนรู้ของนักเรียนหรือไม่ ประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษา คือ การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์
 
บทนำ
ตราบใดที่ผู้บริหารและครู-อาจารย์ในสถานศึกษา เห็นว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่มีประโยชน์ ไม่เข้าใจในประโยชน์ ไม่รับรู้หรือรับทราบ ไม่ติดตามข่าวสาร ไม่เคยใช้หรือเคยชินกับเทคโนโลยีเหล่านั้น ก็จะทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ถูกนำไปเผยแพร่ในสถานศึกษา ไม่ว่าสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเหล่านั้นจะดีเพียงใด การยอมรับที่จะทำความรู้จัก เข้าใจ การนำไปใช้ จนเป็นนิสัย หรือนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ขึ้นอยู่กับตัวของบุคคลเป็นสำคัญ 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร และครู-อาจารย์ ถ้าบุคคล 2 กลุ่มขาดการยอมรับ ความรู้ความเข้าใจ ไม่เคยนำไปใช้ หรือไม่เคยเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดๆ เลย จะทำให้ยากต่อการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้สถานศึกษา
ระดับของการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารและครู-อาจารย์ ตามแนวคิดของ Roger (1986) สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ
1. กลุ่มที่อยู่ในระดับยอมรับมากที่สุด
2. กลุ่มที่อยู่ในระดับมาก
3. กลุ่มที่อยู่ในระดับปานกลาง
4. กลุ่มที่อยู่ในระดับน้อย
5. กลุ่มที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด
ระดับของการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 5 ระดับ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือ ทั้ง 5 กลุ่ม สามารถแยกแยะหรือจำแนกระดับของการยอมรับนวัตกรรมออกได้ แต่ไมได้หมายความว่าผู้ที่ได้คะแนนน้อยหรือแยกแยะออกมาแล้วอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะต้องอยู่ในกลุ่มนั้นตลอดไป ระดับการยอมรับของนวัตกรรมมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาขึ้นไปได้ เช่น คนที่ไม่เคยยอมรับนวัตกรรมเลย เมื่อมาถึงจุดหนึ่งอาจพัฒนาตนเองไปถึงระดับปานกลางหรือยอมรับมากที่สุดและใช้อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น การจำแนกกลุ่มบุคคลที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับนวัตกรรม จึงเป็นการจำแนกหรือแยกแยะในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ระดับการยอมรับสามารถเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือกระบวนการได้ตลอดเวลา ถ้าเราจำแนกการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริหาร ครู-อาจารย์ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
 
1. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากที่สุด
 
กลุ่มผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี หมายถึง กลุ่มที่สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้คล่องแคล่ว เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีการใช้เทคโนโลยีประเภทใดประเภทหนึ่งในการบริหารจัดการอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารทางด้านเทคโนโลยี เคยเข้าร่วมกิจกรรม ฝึกอบรมการพัฒนาร่วมในการผลิต หรือเกี่ยวข้องโดยตรงงานทางด้านเทคโนโลยี คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทุกประเภทในระดับสูงสุด นั่นคือ ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ กิจกรรม นโยบายใหม่ บุคคลกลุ่มนี้จะเข้าร่วมและทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของนักเรียน ดังนั้นกลุ่มนี้เป็นแนวหน้าในการที่จะนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในการจัดการศึกษา มักจะเป็นผู้ที่จบทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีโดยตรงหรือมีความสนใจเป็นพิเศษ มีการพัฒนาการมานานหรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่สม่ำเสมอ หรือจำเป็นต้องทำงานที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา
 
2. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาก
 
กลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมาก หมายถึง กลุ่มผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอยู่สม่ำเสมอหรือบ่อยครั้งที่ต้องใช้ กลุ่มนี้เห็นความจำเป็นและความสำคัญของการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารการจัดการศึกษา เพียงแต่อาจไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม และพยายามสรรหาหรือเข้าไปใช้เทคโนโลยีในการนำมาบริหารจัดการ หรือเป็นครู-อาจารย์ที่สนใจและชอบแต่มีทุนทรัพย์น้อยหรือไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ได้รับการสนับสนุน จึงทำให้ไม่มีโอกาสพัฒนาตนเอง หรือโอกาสที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ กลุ่มนี้สามารถพัฒนาไปในระดับที่ยอมรับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสูงสุดได้ ถ้าได้รับการฝึกอบรมหรือหน่วยงานมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปใช้อย่างสม่ำเสมอ ในทางตรงกันข้ามหากขาดการสนับสนุนจากหน่วยงาน หรือองค์กรไม่มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่เข้าไปทำให้เกิดการพัฒนา อาจทำให้เสื่อมถอยหรือตามเทคโนโลยีไม่ทันหรือเบื่อหน่าย ในที่สุดกลุ่มนี้อาจไม่พัฒนาหรือยอมรับนวัตกรรมในระดับที่ปานหรือลดลงได้
 
3. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีปานกลาง
 
กลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับปานกลาง หมายถึง กลุ่มที่มักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีพอใช้งานได้ เคยอบรม ใช้งานในบางโอกาส หรือหน่วยงานสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีอยู่บ้าง แต่ไม่ใช้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ค่อยได้ติดตามเทคโนโลยี รู้จักและเข้าใจนวัตกรรมพอสมควร เคยทำงานที่เกี่ยวข้องอยู่บ้าง และพร้อมที่จะยอมรับเทคโนโลยีให้มากขึ้นกว่าเดิม ถ้าได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุน ในขณะเดียวกันการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับกลุ่มนี้อาจลดลงได้ถ้าหน่วยงานไม่มีการสนับสนุนและพัฒนาให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการศึกษาเลย ฉะนั้นกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับที่พอใช้งานเทคโนโลยีได้ พอเข้าใจว่ามีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดอยู่บ้าง รู้จักและเข้าใจในเครื่องมือเครื่องใช้ใหม่เพียงแต่ไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือได้ใช้บ่อยนัก หรืองานที่ทำอยู่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีโดยตรง ทำให้ตัวผู้ใช้มีการยอมรับเทคโนโลยีในระดับปานกลาง
 
4. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อย
 
กลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับน้อย หมายถึง กลุ่มผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่มีความพร้อมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา แต่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ทราบแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ขาดการฝึกอบรมพัฒนา ทุนน้อย อยู่ห่างไกล ทำให้มีส่วนในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีมากนัก หรือบริหารจัดการ การสอนในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเลย ทั้งที่ตัวเองก็สนใจ หรือพอจะรู้ว่ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาบ้างแต่ขาดโอกาสที่จะมีส่วนร่วม ทำให้กลุ่มนี้อยู่ในระดับพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีแต่ขาดผู้นำเข้าสู่ระบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี ใหม่ๆ กลุ่มนี้สามารถขยับเข้ามาอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อยู่เสมอ เพราะกลุ่มนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ยอมรับนวัตกรรม เสมอไป หรือไม่รับรู้รับทราบเพียงแต่ขาดโอกาสหรือมีอุปสรรค อยู่ชนบทห่างไกล เพราะคนที่อยู่ในเมืองมีเทคโนโลยีมากมายก็อาจอยู่ในกลุ่มนี้ได้หากขาดการใฝ่รู้ ขาดการติดตามข่าวสารหรือขาดการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยี ดังนั้นผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ กิจกรรมต่างๆ เกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ให้มากขึ้น อยู่สม่ำเสมอ
 
5. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุด
 
กลุ่มที่มีการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุดหรือาจเรียกได้ว่า กลุ่มที่ไม่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีหมายถึง กลุ่มที่ไม่เคยใช้เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการ หรือไม่เคยใช้เทคโนโลยีใดๆ ในการเรียนการสอน อาจจะรู้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ และรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ แต่ไม่ใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอน กลุ่มนี้เป็นลักษณะที่มองไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี คิดว่าวิธีการเดิมๆ ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่จึงไม่จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาสู้สิ่งที่มีอยู่เดิมไม่ได้ อาจเกิดจากทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเทคโนโลยีเลย หรือทำงานกับกลุ่มคนที่ที่ไม่ใช้เทคโนโลยีด้วยกัน หรือคำนึงถึงเรื่องราคาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีราคาค่อนข้างสูงจึงไม่ยอมรับที่จะใช้ ขณะเดียวกันมีพื้นฐานเดิมที่ไม่สนใจที่จะฝึกอบรม ติดตาม หรือพัฒนาตนเอง ทำให้ไม่ยอมรับหรือใช้เทคโนโลยีในด้านใดด้านหนึ่ง แม้ว่าเทคโนโลยีจะนำความสะดวกสบายมาให้ผู้ใช้ แต่ตัวผู้ใช้เห็นว่าวิธีการเดิมดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง
กลุ่มนี้ถือว่าต้องพัฒนาโดยเร่งด่วน และหาทางปรับระดับอย่างน้อยควรให้อยู่ในระดับที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีบ้าง โดยให้ได้ทดลองใช้ ได้ใช้ ยอมรับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในการเรียนการสอนบ้าง มิฉะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาระบบการศึกษา ซึ่งระบบการศึกษามีนวัตกรรมใหม่ แนวคิดใหม่ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ถ้ากลุ่มนี้มีอยู่ในปริมาณมากจะเป็นเรื่องที่ลำบากต่อการพัฒนาระบบการศึกษาให้ก้าวหน้าได้ช้า
 
แนวทางการประเมินระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การประเมินระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่ใช่การประเมินในลักษณะที่วัดเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู-อาจารย์นั้นมีอยู่ในสภาพแวดล้อมในลักษณะใด วิธีการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีไม่ได้ตรวจสอบเพียงแค่การใช้เครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่เท่านั้น และความเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีไม่ได้หมายถึงคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีชั้นสูงใหม่ๆ แต่ประการใด แต่การประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการประเมินตัวบุคคลหรือสภาพแนวคิด การรับรู้ของผู้บริหาร ครู-อาจารย์ มีความรู้สึก ความคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่ตนปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำผลของแนวคิดประจำวันมาประเมินว่า บุคคลระดับใดจะเป็นผู้ที่มีการยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสู่ชีวิต ดังนั้นแบบประเมินที่ใช้ในการประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นการประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และปริมาณการใช้หรือการมีส่วนร่วม การติดตามเทคโนโลยีสมัยใหม่
ตอนที่ 2 เป็นการประเมินสภาพของความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ผ่านมาแล้วในอดีต หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในชีวิต เช่น การดูรายการโทรทัศน์ เทคโนโลยีหรือสิ่งก้าวหน้าใหม่ๆ การศึกษาดูงาน การมีส่วนร่วมต่อ และแนวคิดที่มีต่อเทคโนโลยี ในตอนที่ 2 เป็นการศึกษาสภาพชีวิตจริงของผู้ที่ถูกประเมินว่า มีระดับของการยอมรับหรือความเข้าใจของเทคโนโลยีในสภาพของความเป็นจริงในชีวิตอย่างไรบ้าง และนำมาคิดเป็นคะแนนในภาพรวมต่อไป
ดังนั้น การแบ่งระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้ง 5 ระดับ จะมีการให้คะแนน 5 ส่วนด้วยกันคือ
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 80 - 100 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมากที่สุด
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 66 - 79 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมาก มีความจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมอยู่เป็นประจำ
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 51 - 65 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับปานกลาง สามารถใช้เทคโนโลยีได้ตามความจำเป็น นั่นคือ ยอมรับในบางหัวข้อหรือพอใช้เป็นบ้างในบางครั้ง
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 36 – 50 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีในระดับน้อยหรือมีความพร้อมที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้งาน แต่ทำได้ในระดับที่น้อย
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 20-35 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุด เพราะบุคคลกลุ่มนี้จะให้คะแนนแบบประเมิน 1 แทบทุกข้อ
ระดับการยอมรับนวัตกรรม เป็นความจำเป็นสำหรับการประเมินหรือการวิเคราะห์ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ซึ่งในการออกแบบระบบหรือพัฒนาการเรียนการสอนในระบบการศึกษาให้ก้าวหน้าไป การประเมินการยอมรับนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเป็นสิ่งแรก เพื่อจะได้ทราบว่า ควรนำเอานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้ดีหรือไม่ หากผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ขาดการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อนักเรียน นักศึกษาได้ ในที่สุดแล้วจะทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการ การเรียนการสอน
 
 
บทสรุป
 
ดังนั้นนักการศึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษา ที่ต้องการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยเข้าไปใช้ในองค์กรหรือสถานศึกษา ควรคำนึงถึงการยอมรับนวัตกรรม เพราะเป็นขั้นตอนแรกในการวิเคราะห์ระบบทั้งหมด ซึ่งการวิเคราะห์ระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ประสบความสำเร็จต้องทราบตั้งแต่การวิเคราะห์องค์กร โดยใช้ SWOT เป็นการวิเคราะห์องค์กร การดูความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ผู้เรียนในเรื่องแบบเรียนรู้ Learning Style การวิเคราะห์ระดับการยอมรับนวัตกรรม สามารถนำไปใช้ได้ทั้งผู้บริหาร ครู-อาจารย์ เมื่อได้ทราบระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีแล้ว ทำให้สามารถกำหนดนโยบายหรือวางแผนพัฒนาระบบการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมโดยไม่สูญเปล่า
 
 

หนังสืออ้างอิง
Rogers, E.M. Diffusion of Innovations. New York : The Free Press, 1986.

 
 

 

 
แบบประเมินตนเองระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
(ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และปรัชญนันท์ นิลสุข, 2547)
 
 
คำชี้แจงแบบประเมิน
 
การประเมินระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการประเมินสภาพความเป็นจริงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพื่อได้ทราบระดับของตนเอง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจบริหารและจัดการบุคลากรในหน่วยงาน ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แบบประเมินมี2 ตอน การเลือก 3 ระดับคือ บ่อยครั้ง (5) บางครั้ง (3 คะแนน) น้อยครั้ง (1)
 
ระดับการยอมรับ บ่อยครั้งจะได้5 คะแนน
 
บางครั้งจะได้3 คะแนน
 
น้อยครั้งจะได้1 คะแนน
 
ตอนที่1 กรุณาเลือกข้อที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงของท่านมากที่สุดเพียงข้อเดียว
 

การประเมินระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
บ่อยครั้ง(5)
 
บางครั้ง(3)
 
น้อยครั้ง(1)
 
1. ท่านใช้คอมพิวเตอร์อยู่เป็นประจำ
………..
………..
…………
2. ท่านเคยเข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์
………..
………..
…………
3. ท่านทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
………..
………..
…………
4. ท่านเคยอธิบายการทำงานคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่นฟัง
………..
………..
…………
5. ท่านชอบซักถามปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับผู้รู้
………..
………..
…………
6. ท่านพยายามส่งเสริมคนรอบข้างให้ใช้คอมพิวเตอร์
………..
………..
…………
7. ท่านสนใจติดตามข่าวสารความก้าวหน้าคอมพิวเตอร์
………..
………..
…………
8. ท่านพยายามฝึกฝนคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง
………..
………..
…………
9. ท่านสนใจและพร้อมจะเรียนรู้เมื่อมีโปรแกรมใหม่
………..
………..
…………
10. ท่านสามารถแก้ปัญหาข้อขัดข้องคอมพิวเตอร์ได้บ้าง
………..
………..
…………
รวมคะแนน
………..
………..
…………

 
 
 
 
ตอนที่2 กรุณาเลือกข้อที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงของท่านมากที่สุดเพียงข้อเดียว
 
 

การประเมินระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
บ่อยครั้ง(5)
 
บางครั้ง(3)
 
น้อยครั้ง(1)
 
11. ท่านเคยดูรายการโทรทัศน์การศึกษา มสธ, รามฯ, กศ.น.
………..
………..
…………
12. ท่านศึกษาคอมพิวเตอร์จากการอบรมผ่านดาวเทียมไทยคม
………..
………..
…………
13. ท่านสามารถบอกวิธีใช้วีดิโอ/โทรทัศน์ให้ผู้ร่วมงานได้
………..
………..
…………
14. ท่านต้องใช้เทคโนโลยีด้วยตนเองในหน่วยงานของท่าน
………..
………..
…………
15. ท่านติดตามความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตอย่างสนใจ
………..
………..
…………
16. ท่านแนะนำผู้ร่วมงานให้ใช้สื่อทันสมัยแม้ท่านจะไม่รู้จักดีนัก
………..
………..
…………
17. ท่านชอบศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
………..
………..
…………
18. ท่านพยายามดูแลซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน
………..
………..
…………
19. ท่านยินดีถ้าได้ร่วมสัมมนาหรืออบรมเทคโนโลยีสมัยใหม่
………..
………..
…………
20. ท่านมีส่วนร่วมในโครงการอบรมและพัฒนาเทคโนโลยีเสมอ
………..
………..
…………
รวมคะแนน
 
   


การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)


เปิดอ่าน 87,786 ครั้ง
Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit

Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit


เปิดอ่าน 10,476 ครั้ง
วิธีการเชิงระบบ

วิธีการเชิงระบบ


เปิดอ่าน 43,647 ครั้ง
บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา

บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา


เปิดอ่าน 39,763 ครั้ง
ระบบการพัฒนาอาชีพครู

ระบบการพัฒนาอาชีพครู


เปิดอ่าน 48,628 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์

เปิดอ่าน 20,298 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอน
เปิดอ่าน 17,651 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักการออกแบบของ ADDIE model
หลักการออกแบบของ ADDIE model
เปิดอ่าน 170,953 ☕ คลิกอ่านเลย

ความหมายของระบบ
ความหมายของระบบ
เปิดอ่าน 184,800 ☕ คลิกอ่านเลย

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
เปิดอ่าน 121,405 ☕ คลิกอ่านเลย

มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
เปิดอ่าน 13,488 ☕ คลิกอ่านเลย

12 เทคโนโลยี (ไม่) พร้อมใช้ใน Web 3.0
12 เทคโนโลยี (ไม่) พร้อมใช้ใน Web 3.0
เปิดอ่าน 24,413 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ฟักทองญี่ปุ่น
ฟักทองญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 19,009 ครั้ง

"กูเกิล"เปิดบริการ"กูเกิล ไดรฟ์" เก็บข้อมูลออนไลน์สูงสุด "16 เทราไบท์"
"กูเกิล"เปิดบริการ"กูเกิล ไดรฟ์" เก็บข้อมูลออนไลน์สูงสุด "16 เทราไบท์"
เปิดอ่าน 11,333 ครั้ง

ต้นกำเนิด "ร่ม"
ต้นกำเนิด "ร่ม"
เปิดอ่าน 15,530 ครั้ง

ทำไม สัญลักษณ์โอลิมปิก ต้องเป็นรูปวงกลม 5 ห่วง
ทำไม สัญลักษณ์โอลิมปิก ต้องเป็นรูปวงกลม 5 ห่วง
เปิดอ่าน 34,997 ครั้ง

5 สายอาชีพควรเรียน เป็นที่ต้องการในอีก 5 ปี
5 สายอาชีพควรเรียน เป็นที่ต้องการในอีก 5 ปี
เปิดอ่าน 83,536 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ